Consumers’ Attitude and Behavior Affecting Buying Choice of House Brand Consumer Goods: A Case Study of Big C Supercenter and Tesco Lotus Supercenter in Ubon Ratchathani Province
โดย นงรัก บุญเสริฐ
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ประเภทสินค้าอุปโภค ของเทสโก้ โลตัสและบิ๊กซี ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (Independent Samples t-test) และ (One-Way ANOVA: F-test)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ประเภทสินค้าอุปโภคของเทสโก้ โลตัสและบิ๊กซี ส่วนใหญ่เพศหญิง ซึ่งมีอายุ ต่ำกว่า 20-39 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษาอยู่ มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ประเภทสินค้าอุปโภค ชนิดของสินค้าที่เลือกซื้อคือเครื่องใช้ในครัวเรือนและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติที่สอดคล้องกับส่วนประสมทางการตลาด โดยพบว่าส่วนประสมทางการตลาดเป็ นตัวกำหนดความต้องการของสินค้า ด้านผลิตภัณฑ์พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีหลากหลายประเภทกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ด้านราคาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับราคาของสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ว่ามีราคาที่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายพบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการสถานที่ในการจัดจำหน่ายที่มีความสะดวกด้านการเดินทาง ด้านการส่งเสริมทางการตลาด พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่ดีต่อเทสโก้ โลตัสและบิ๊กซี ซึ่งมีการโฆษณาผ่านสื่ออย่างสม่ำเสมอ ด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการซื้อสินค้าในหนึ่งเดือนมากกว่า 4 ครั้ง และค่าใช้จ่ายที่ซื้อสินค้าในแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 501-1,000 บาท กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ประเภทสินค้าอุปโภคในระดับมาก
The independent study was carried out to investigate the consumers’ attitude and behavior that affected the buying choice of the house brand consumer goods at Big C Supercenter and Tesco Lotus Supercenter in Ubon Ratchathani Province. The data were collected from 400 samples through the application of questionnaires. The statistics used for the data analysis consisted of Frequency, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, and One-Way ANOVA: F-test.
The results of the study showed that the majority of the buyers of the house brand consumer goods at Tesco Lotus Supercenter and Big C Supercenter were female, between 20-39 years old, single, completed lower than undergraduate level, were students, earned a monthly income less than 10,000 Baht, had experience with buying the house brand consumer goods, and chose buying kitchenware and beauty products.
According to the respondents’ attitude relating to the marketing mix, it was found that the marketing mix was the indicator of the goods needed. Regarding the product aspect, the respondents gave priority to the different product categories. Concerning the price aspect, it was found that the respondents’ attitude was emphasized on the best value for money spent when comparing with the quality. As regards the channel of distribution, the study indicated that the respondents focused on the easygoing places. With regard to the promotion aspect, it was found that the respondents stressed on the constant advertising through media. In the matter of the buying behavior of the house brand consumer goods, it was found that the respondents made purchases 4 times per month and spent 501-1,000 Baht at each time, moreover, the study demonstrated the consumers’ satisfaction toward the house brand consumer goods at a high level.