Evaluation Of Institution Curriculum Of Thai Language For Prathomsuksa 4-6 At Christasongkroh School Ongkharak District Nakhonnayok Province
โดย ชุลีพร เพาะบุญ
ปี 2555
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 ของโรงเรียนคริสตสงเคราะห์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่ แบบสอบถาม
ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 11 คน ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 จำนวน 6 คนใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงส่วนผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 จำนวน 184 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 จำนวน 264 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการคำนวณจากขนาดตัวอย่างของยามาเน่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรส่งเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้ดีมากยิ่งขึ้น ให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ถูกต้องตามหลักการสอนวิชาภาษาไทย ควรขยายผลไปยังระดับชั้นอื่น ๆ และครอบคลุมทุกกลุ่มสาระเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งระบบ
The purpose of this research was to evaluate curriculum of Thai Language for Prathomsuksa 4-6 at Christasongkroh School. The evaluation covered four main areas, namely the context, factors involved, process and product. Questionnaires were used as the instrument to collect data from five target groups: an administrator, committee of Thai language, Thai language teachers, students’ parents, and students. Samplin were carried out using purposive random and Taro Yamane.
The data obtained were analyzed quantitatively by means of percentage, means and standard deviation. Qualitative data were analyzed using the content analysis. The results showed that in general the four aspects evaluated were rated at the ‘most appropriate’ level. It was concluded that development of the curriculum of Thai language should emphasized the effort to increase students’ achievement of Thai language learning.
In addition the students should be taught to read and write correctly according to the principles of Thai language learning and teaching. This could be used as a starting point for the development of Thai language learning as the whole system.