Purchasing Decision Influent Base on Marketing Factors Circular Knit Fabric Case Study : YRC Textile Company Ltd.,
โดย รังสรรค์ วาณิชธนสาร
ปี 2549
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าถักไทย กรณีศึกษา บริษัท วาย.อาร์.ซี.เท็กซ์ไทล์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่เป็นลูกค้าที่ซื้อผ้าถักจากบริษัท วาย.อาร์.ซี.เท็กซ์ไทล์ จำกัดนำไปผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มต่อไป โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด150 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ถ้าพบความแตกต่าง จะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของลูกค้า บริษัท วาย.อาร์.ซี.เท็กซ์ไทล์ จำกัด ส่วนใหญ่บริษัท ที่มีขนาดใหญ่มีการจ้างงานมากกว่า 50 คนขึ้นไป ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าผลิตเป็นชุดกีฬา มีการเปิดดำเนินธุรกิจม่ำกว่า 15 ปี บริษัทตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน กลุ่มตลาดเป้าหมายเป็นตลาดระดับกลางและผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าถัก ได้แก่ เจ้าหน้าที่จัดซื้อ
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญมากด้านราคาให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุด ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายให้ความสำคัญน้อยถึงปานกลาง ด้านการส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญปานกลางถึงมาก
ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน สามารถสรุปได้ดังนี้ขนาดบริษัทจากการจ้างงานแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขนาดบริษัทจากการจ้างงานแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าผลิตแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าผลิตแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันระยะเวลาในการดำเนินการที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะเวลาในการดำเนินการที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน สถานที่ตั้งบริษัทลูกค้าแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 สถานที่ตั้งบริษัทลูกค้าแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกันกลุ่มระดับลูกค้าแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มระดับลูกค้าแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศคติด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกซื้อแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนติด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกซื้อแตกต่างกันมีผลต่อระดับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกัน