Characteristics of Damage and Simple Method for Checking of Transmission Towers in Thailand
โดย สมเกียรติ รุ่งทองใบสุรีย์, ประชุม คำพุฒ
วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม-เมษายน 2550
บทคัดย่อ(Abstract)
การศึกษาลักษณะความเสียหาย และระบบสำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นของเสาไฟฟ้าแรงสูงในประเทศ ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลเสาไฟฟ้า ในปัจจุบันจากสถานที่จริง และรวบรวมข้อมูลบันมึกการบำรุงรักษาในอดีตจากการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยแบ่งพื้นที่การสำรวจออกเป็น เขตพื้นที่อุตสาหกรรม เขตพื้นที่แหล่งชุมชน เขตพื้นที่เกษตรกรรม 1 และเขตพื้นที่เกษตรกรรม 2 เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ลักษณะของความเสียหาย และสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเกิดสนิมและอายุการใช้งานของเสาไฟฟ้าแรงสูงได้ เพื่อจัดวางรอบระยะเวลาในการออกสำรวจป้องกันดูแลรักษา จากการศึกษาพบว่าสนิมของโครงสร้างโดยรวมเกิดมากที่สุดในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม การกัดกร่อนเกิดรุ่นแรงมากตรงเหล็กสตับ รองลงไปเป็นที่สเต็บโบลท์ บันได และจุดต่อต่างๆของโครงสร้าง รากฐานเสาไฟฟ้าแรงสูงบางต้นมีการทรุดตัว นอกจากนี้ชิ้นส่วนของโครงสร้างที่อยู่บริเวณส่วนล่างของเสาไฟฟ้าแรงสูงบางชิ้นยังเกิดการโกงงอหรือสุญหายอีกด้วย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวเกิดจากสาเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง สภาวะแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ วิธีการก่อสร้าง การขนส่ง การกองเก็บที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนประชากรในเขตพื้นที่ก่อสร้างเป็นต้น ซึ่งงานวิจัยนี้ได้แนะแนวทางการป้องกันและการบำรุงรักษาในแต่ละสาเหตุของความเสียของความเสียหายพร้อมทั้งจัดระบบสำหรับการตรวจสอบเสาไฟฟ้าแรงสูงเบื้องต้น เพื่อความสะดวก ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เสาไฟฟ้าแรงสูงมีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสามารถนำไปพัฒนาเป็นมาตรฐานสำหรับการออกแบบใช้งานในอนาคต
In this study, simple method for checking of transmission towers were determined based on the investigated results from surveying of the existing towers and by collecting maintenance data from the Electricity Generating Authority of Thailand(EGAT). The field areas were divided into industrial area, city area, rural area I and rural area II area in order to determine the characteristics and causes of the tower damage. The data from fields surveying were used to determine the relationship between rust level and age of tower. Results of the study showed that rust of the tower tended to mostly occur in the industrial area. Severe corrosion was found at the stubs. Step-bolts, ladders and member joints were also found to be more corrosive than other members. Some tower foundations had high settlement. Furthermore, some members in the tower part of the tower were deformed or lost. The location, environment, topography, climate, construction process, transportation method, unsuitable storage and human act, for example, could cause the damages. This research offers the protective and maintained means of the tower. It setups a simple method for checking of transmission towers. This could extend the lifetime of the towers and can be used to develop a standard for tower design in the future.