A Study of Employees’ Organizational Commitment: ACase of General Motors (Thailand) Co.Ltd. and Mitsubishi Motors (Thailand) Co.,Ltd.

โดย กำภู แพงไตร

ปี     2548

บทคัดย่อ(Abstract)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ความภักดีของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยพนักงานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 187 คน รวมทั้งสิ้น 390 คน และได้ทำการสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

ผลตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 20-30 ปี ส่วนใหญ่แต่งงานและมีระดับการศึกษาเทียบเท่ามัธยมศึกษาหรือ ปวช. มีรายได้ต่อเดือน 10,000-30,000 บาท มีตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ มีระยะเวลาการทำงาน 2-5 ปี เมื่อพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานและความภักดีต่อองค์กร จะพบว่า ด้านลักษณะงาน ให้ความสำคัญกับการที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถมากที่สุดด้านการเลื่อนตำแหน่ง เห็นด้วยในเรื่องการมีโอกาสความก้าวหน้าค่อนข้างจำกัดมากด้านค่าจ้างเงินเดือนและความมั่นคงของบริษัท โดยให้ความสำคัญกับการที่บริษัทให้เงินเดือนต่ำกว่าบริษัทอื่นเมื่อเทียบกับงานประเภทเดียวกันมากที่สุด ด้านเพื่อนร่วมงาน เห็นด้วยกับการที่เพื่อนร่วมงานเป็นมิตรมากที่สุด ด้านการบริหาร คิดว่าผู้บริหารระดับสูงมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำมากที่สุดด้านผู้บังคับบัญชา คิดว่าผู้บังคับบัญชาสนับสนุนให้ปฎิบัติงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถมากที่สุดด้านความภักดีต่องค์การ มีความเห็นด้วยกับการเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามมากกว่าปกติ เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จมากที่สุด

ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานระหว่างข้อมูลส่วนตัวกับความพึงพอใจในงาน พบว่า อายุสถานภาพสมรส การศึกษา ตำแหน่งงานและระยะเวลาในการทำงานที่ต่างกันมีความพึงพอใจในงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05การทดสอบสมมติฐานระหว่างข้อมูลส่วนตัวกับความภักดีต่อองค์การ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา ตำแหน่งการทำงาน ระยะเวลาทำงานและรูปแบบขององค์การที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความภักดีต่อองค์การ แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05ความสัมพันธ์ระหว่างความพอใจในงานและความภักดีต่อองค์การ พบว่า ความพึงพอใจในงานทุก ๆ ด้านมีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อองค์การ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยที่ความพึงพอใจในงานด้านผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ต่อความภักดีต่อองค์การมากที่สุด (0.591)รองลงมาคือ ความพึงพอใจในงานด้านการเลื่อนตำแหน่ง (0.499) รองลงมา คือ ความพึงพอใจในงานด้านการบริหารงาน (0.455) ความพึงพอใจด้านลักษณะงาน (0.269) และความพึงพอใจในด้านเพื่อนร่วมงาน (0.230) มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีต่อองค์การน้อยที่สุด

DOWNLOAD