Attitude to Marketing Mix Factors for Buying Motorcycleof Buyer in Bangkok Area

โดย  ณัฏฐนันท์ อังธารารักษ์

ปี     2548

บทคัดย่อ(Abstract)

การศึกษาทัศนคติของผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ทางด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึง ลักษณะทั่วไปและทัศนคติของประชากรซึ่งเป็นผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีทัศนคติทาง ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test สำหรับตัวแปรสองกลุ่ม และใช้สถิติ One-Way ANOVA (F-test) ในการทดสอบสมมติฐานสำหรับตัวแปรมากกว่าสองกลุ่ม ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กรณีที่ผลการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบเปรียบเทียบด้วยสถิติ LSD

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 66 และ เพศหญิงร้อยละ 34 มีอายุอยู่ในช่วง 28-37 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.7 และการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. คิดเป็นร้อยละ43.3 และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทคิดเป็นร้อยละ66.5 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ย 6,501-11,800 บาทต่อเดือน มีสถานภาพสมรสแล้ว โดยมีพื้นที่อาศัยตามสัดส่วนของประชากร ซึ่งเขตที่มีประชากรมากที่สุด คือ เขตสายไหม การศึกษาทัศนคติที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ พบว่า ผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ มีทัศนคติที่เห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ต้องประหยัดน้ำมันมากที่สุด ด้านราคาอะไหล่ไม่แพง มีทำเลที่ตั้งของศูนย์จำหน่ายสะดวกเข้าไปใช้บริการ และมีการโฆษณารถจักรยานยนต์ผ่านสื่อต่างๆเช่น ทางโทรทัศน์ นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนการทดสอบสมมติฐานตามลักษณะทั่วไปของประชากรที่มีทัศนคติทางด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ พบว่า ผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ เพศแตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนระดับการศึกษาของผู้ซื้อรถจักรยานยนต์แตกต่างกันทัศนคติทางด้านผลิตภัณฑ์ในการเลือกซื้อรถจักยาน-ยนต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนลักษณะประชากร ด้านอายุ อาชีพรายได้และสถานภาพสมรส ที่แตกต่างกันของผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ทางด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์พบว่ามีทัศนคติในการเลือกซื้อไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ซื้อรถจักรยาน- ยนต์ที่มีพื้นที่อาศัยแตกต่างกัน มีทัศนคติในการเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากการวิจัยนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ว่าผู้ผลิตควรพัฒนารถจักรยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมันหรือพัฒนารถจักรยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทดแทนในเชิงพานิชย์ เช่น รถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับระบบไฟฟ้า (Hybrid System) และการออกแบบรถให้สามารถใช้ได้กับทุกวัย

DOWNLOAD