Attitude and Behavior on Usage of LiquefiedPetroleum Gas in Private Cars in Pathumtani Province

โดย สุริยา เลาหบุตร

ปี     2549

บทคัดย่อ(Abstract)

การวิจัยครั้งครั้งนี้มุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขตจังหวัดปทุมธานี โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขตจังหวัดปทุมธานี ที่เข้ามาเติมก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานีที่ให้บริการเติมก๊าซ 5 แห่ง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าการวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ค่าทดสอบค่าที (Independent t-test)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least SignificantDifference) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 36-40ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพรับข้าราชการโดยมีรายได้10,001-20,000 บาทต่อเดือนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นรถยนต์ประเภทรถยนต์ญี่ปุ่นโดยเป็นรถยนต์ที่มีขนาดของเครื่องยนต์ 1,501-2,000 cc. นอกจากนี้ยังพบว่า ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อลดปริมาณในการใช้น้ำมันและปริมาณมลภาวะทางอากาศ ส่วนเรื่องคุณสมบัติของก๊าซและอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นพลังงานเชื้อเพลิงแทนน้ำมันมีความปลอดภัยได้มาตรฐาน และยังมีความต้องการถังบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้การรับรองคุณภาพด้วยมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.) นอกจากนี้พบว่าถ้าผู้ที่เคยใช้รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ หากจะซื้อรถคันใหม่ มีแนวโน้มจะติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นพลังงานเชื้อเพลิงแทนน้ำมันอย่างแน่นอน และจะแนะนำผู้อื่นให้ติดตั้งอีกด้วย แต่ถ้าหากราคาน้ำมัน มีราคาเท่ากับหรือถูกกว่าราคาก๊าซก็จะเปลี่ยนกับมาใช้น้ำมันเป็นพลังงานเชื้อเพลิงเหมือนเดิมค่อนข้างแน่นอน โดยผู้มีอิทธิพลหรือส่งผลในการตัดสินใจใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นพลังงานเชื้อเพลิงแทนน้ำมันพบว่าส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจของตัวเอง

ผลวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐานได้ผลดังนี้

เพศ , อายุ , อาชีพ ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อซ้ำในการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีพฤติกรรมการซื้อซ้ำ ในการติดตั้งระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวแตกต่างกันยี่ห้อรถยนต์ และขนาดของเครื่องยนต์ มีพฤติกรรมซื้อซ้ำในการติดตั้ง ระบบก๊าซปิโตรเลียมเหลวแตกต่างกันส่วนทางด้าน ทัศนคติที่มีต่อการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมซื้อซ้ำในการติดตั้งระบบ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

DOWNLOAD