Using Behavior Service and the Satisfaction of an Officer Who Use to Service Credit Card :A Case Study Teijin Polyester Co., Ltd.

โดย วิไลพรรณ กล่อมพิรุณ

ปี      2549

บทคัดย่อ(Abstract)

การค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของพนักงานที่ใช้บริการบัตร
เครดิต 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต จำแนกตามพฤติกรรมของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระในครั้งนี้คือ ผู้ที่ใช้บริการบัตรเครดิตที่ออกโดยบริษัทบัตรเครดิตหรือสถาบันการเงินทั้งในประเทศ และสาขาต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย ในที่นี้ไม่รวมถึงบัตรเครดิตที่ออกโดยห้างสรรพสินค้าหรือหน่วยงานอื่นๆ โดยตรง ของพนักงานบริษัทเทยินโพลีเอสเตอร์ จำกัด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้จำนวนทั้งหมด 283ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ค่าทดสอบค่าที (Independent t-test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference)สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows

ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท  การศึกษาพฤติกรรมของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต พบว่า มีจำนวนบัตรเครดิตที่ถืออยู่ทั้งหมด 1-2 บัตร ความถี่ในการใช้บัตรเครดิต 4-6 ครั้ง มีจำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 5,001-10,000 บาทต่อเดือน และมีวงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับสองเท่าของรายได้  การศึกษาระดับความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิตภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีระดับความพึงพอใจต่อด้านสถานที่ใช้บัตรเครดิตอยู่ในระดับมาก ส่วนทางด้านบริการ ด้านสินเชื่อ และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลางการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต จำแนกตามเพศระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า พนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิตที่มีเพศ ระดับ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการใช้บริการบัตรเครดิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต จำแนกตามพฤติกรรมของพนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิต พบว่า พนักงานที่ใช้บริการบัตรเครดิตที่มีจำนวนบัตรเครดิตทั้งหมดที่ถืออยู่ ความถี่ในการใช้บัตรเครดิต จำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และวงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการใช้บริการบัตรเครดิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

DOWNLOAD