The Study on Plant Extracts to Inhibit the Growth of Bacteria that cause Spoilage of Meat
โดย ศิริวรรณ แก้วเพ็ชร์ สุณีนุช คุ้มภัย สุรัตน์ โหนา และอลิษา โต๊ะและ
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
จากการศึกษาสารสกัดจากพืชในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็น สาเหตุการเน่าเสียของเนื้อสัตว์ โดยนำสารสกัดจากพืชที่มีสารแทนนินเพื่อมาใช้ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสารแทนนินเป็นสารที่พบมากในพืชที่มีรสฝาดมีฤทธิ์ในการบรรเทาท้องเสียทั้งยังป้องกันการทำลายของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยพืชที่นำมาสกัด มี 3 ชนิด ได้แก่ ใบฝรั่ง เปลือกเงาะ และ เปลือกมังคุด จากการศึกษาปริมาณสารแทนนินในพืชที่มีรสฝาดโดยวิธีการตกตะกอนโปรตีนพบว่าใบฝรั่งมีปริมาณสารแทนนินอยู่ 18.65 กรัม เปลือกเงาะ 17.87 กรัม และเปลือกมังคุด 15.77 กรัม ตามลำดับ การศึกษาผลของสารสกัดจากใบฝรั่ง เปลือกเงาะ และเปลือกมังคุดมาใช้เพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เนื้อสัตว์เน่าเสียในห้องปฏิบัติการ โดยการวัดขนาด Clear zone พบว่า สารสกัดจากพืชที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus aureus โดยเกิดบริเวณยับยั้งเห็นได้ชัดเจนมี 1 ชนิด คือ สารสกัดจากเปลือกเงาะ ส่วนสารสกัดจากพืชอีก 2 ชนิด ไม่ก่อให้เกิดการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และจากการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกเงาะ ในการยับยั้งแบคทีเรียบนเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา ที่เวลา 3 และ 6 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากเปลือกเงาะที่ระดับความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์มีประสิทธิภาพดีที่สุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบจำนวนโคโลนีที่ลดลง (%) จะพบว่าสารสกัดจากเปลือกเงาะสามารถยับยั้ง Staphylococcus aureus ได้ดีที่สุดทั้งบนเนื้อหมู เนื้อไก่และเนื้อปลา
The study on plant extracts to inhibit the growth of bacteria that cause spoilage of meat was carried out using Tannin which was extracted from plants that can inhibit growth of bacteria.Tannin is a substance commonly found in acerbitic plants, It appears to relieve diarrhea and also prevent effects of some fungi and bacteria. In this study, Tannin was extracted from guava leaves, mangos teen peels and rambutan peels, Its concentration was determined by the precipitation of proteins. The results showed that guava leaf extracts gave Tannin that is 18.65 gramme, rambutan 17.87 gramme and mangosteen peels 15.77 gramme, respectively. The effect of plant extracts as an antibacterial agent was performed by measuring the clear zone. The result revealed that only extracts from rambutan peels can significantly inhibited the growth of Escherichia coli, Salmonella typhimurium and Staphylococcus aureus, while the extracts from both the guava leaves and rambutan peels did not show significant result. The results,studied on pork chicken, and fish for amount of Staphylococcus aureus, at 3 and 6 hours, showed best antibacterial effect for extracts from rambutan peel at 100% concentration. Also, the antibacterial effects of rambutan peels, showed best results in decreasing of colony number (%) of Staphylococcus aureus, company to other organusucs, on all meat types.