Attitude and Behavior Effecting Decision to buy Soap Bar Product in the Bangkok Metropolitan Area

โดย วราภรณ์ ธิราเพียร

ปี     2549

บทคัดย่อ (Abstract)

           การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อน และศึกษาทัศนคติทางด้านส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนรวมถึง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อน กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนในด้านปริมาณการซื้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ซื้อ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนจำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS Version 11 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 18-25 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีสมาชิกในครอบครัวจำนวน 4 คน
          ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสบู่ก้อน ยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำมากที่สุดคือ ลักส์ระยะเวลาที่ใช้ยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำมากที่สุด คือ มากกว่า 12 เดือน ความตั้งใจในการซื้อซ้ำ คือ ซื้ออย่างแน่นอน ใช้สบู่ก้อนประมาณเดือนละ 3 ก้อน ซื้อสบู่ก้อนประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ซื้อสบู่ก้อนประมาณเดือนละ 4 ก้อน บุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ ตัวเอง นิยมซื้อจาก ดิสเคาน์สโตร์ มากที่สุด
          ผลการวิเคราะห์ทัศนคติทางด้านส่วนประสมทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อน ส่วนในเรื่องของส่วนประสมทางการตลาดกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก กับด้านราคา และระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับที่ดีในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ ด้านการส่งเสริมการตลาด
          ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน
1. เพศ และ อายุ ที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านส่วนประสมทางการตลาด
ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่ไม่แตกต่างกัน
2. ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายต่อการ
ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่ไม่แตกต่างกัน และ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านผลิตภัณฑ์ ทางด้านราคา ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่แตกต่างกัน
3. ระดับรายได้ที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านผลิตภัณฑ์ ทางด้านราคา ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่ไม่แตกต่างกัน และ ระดับรายได้ที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่แตกต่างกัน
4. อาชีพที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านผลิตภัณฑ์ ทางด้านราคา ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่ไม่แตกต่างกัน และอาชีพที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านช่องทาง การจัดจำหน่าย ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่แตกต่างกัน
5. จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่ไม่แตกต่างกัน และ จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกันมีทัศนคติทางด้านผลิตภัณฑ์ ทางด้านราคา ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนที่แตกต่างกัน
6. เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ อาชีพ และ จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่
แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนในปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน
7. ทัศนคติทางด้านส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านผลิตภัณฑ์
ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการซื้อสบู่ก้อน

DOWNLOAD