Designing a Sunflower Oil Expeller
โดย คมสันติ เม่ากลาง และ ชัยรัตน์ หงส์ทอง
ปี 2547
บทคัดย่อ (Abstract)
เครื่องบีบอัดน้ำมันเมล็ดทานตะวัน ได้ถูกออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบ เพื่อบีบอัดน้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3ชุด คือ ชุดต้นกำลัง ชุดเกลียวลำเลียง และชุดบีบอัด ชุดต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3เฟส ขนาดแรงม้า 3แรงม้า ขับเกลียวลำเลียงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร ระยะพิตช์ 25 มิลลิเมตร และยาว 280 มิลลิเมตร ซึ่งเกลียวจะหมุนอยู่ในกระบอกอัดน้ำมันทานตะวันจะไหลออกจากรูที่เจาะรอบๆ กระบอกอัด จากการทดสอบหาประสิทธิภาพในการบีบอัด ที่ความเร็วรอบเกลียวอัด 30, 35, 40, 45 และ 50 รอบ/นาที ขนาดรูเจาะรอบๆ กระบอกอัด 1 มิลลิเมตร มุมคายกาก 25, 30, 35 และ 40 องศา แบบใช้ความร้อนและไม่ใช้ความร้อน พบว่าที่ความเร็วรอบเกลียวอัด 35 รอบ/นาที มุมคายกาก 30 องศา แบบไม่ใช้ความร้อน มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันทานตะวันที่อัดได้ 28.06 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการบีบอัดน้ำมันเมล็ดทานตะวันสูงสุด 70.15 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการทำงาน4.38 กิโลกรัม (น้ำมัน) /ชั่วโมง เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ค้างในกาก หลังการบีบอัด 13.57 เปอร์เซ็นต์ และมีจุดคุ้มทุนที่ปริมาณน้ำมันทานตะวัน 300 กิโลกรัม/ปี หรือมีระยะเวลาในการคืนทุนประมาณ 0.3ปี (4 เดือน)