Factors Relating to Purchasing Decisions of Built-in kitchen Appliances of Consumers in Bangkok area

โดย เลิศลักษณ์ พันธาธิก

ปี      2549

บทคัดย่อ (Abstract) 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่มีความสนใจเลือกซื้อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค รวมถึง เพื่อศึกษาความต้องการที่มีต่อสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 400 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านโมเดิร์นเทรด คือโฮมโปรดักส์เซ็นเตอร์ โฮมเวิร์ค บุญถาวร อินเด็กซ์ และ โมเดิร์นฟอร์ม ทั งนี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐานคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่ม (Independent Sample T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป (One Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ต่อไป

 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้านที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือด้าน ช่องทางการจำหน่าย ราคา และการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ โดยจากการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า เพศของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน อายุของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน สถานภาพของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน อาชีพของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ แตกต่างกันรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ แตกต่างกัน ระดับการศึกษาของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน เพศของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับความต้องการในตัวสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน อายุของผู้บริโภคแตกต่างกัน มีระดับความต้องการในตัวสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน สถานภาพของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับความต้องการในตัวสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน อาชีพของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับความต้องการในตัวสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ แตกต่างกัน รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับความต้องการในตัวสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาของผู้บริโภคแตกต่างกันมีระดับความต้องการในตัวสินค้าและบริการของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวชนิดฝังเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ แตกต่างกัน

DOWNLOAD

Comments are closed.