Perception Integrated Marketing Communication Influencing to Tourism at Amphawa Floating Market Samut Songkram Province

โดย กมลรัตน์ โถวสกุล

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่อง การรับรู้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการรับรู้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในตลาดน้ำอัมพวา เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้มอบให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสงคราม เทศบาลอัมพวาเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธ์ในการใช้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 25-29 ปีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพธุรกิจส่วนตัว มาจากกรุงเทพฯ นักท่องเที่ยวให้ระดับการรับรู้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน โดยเรียงลำดับดังนี้ การรับรู้มากที่สุด คือ การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งปี การรับรู้มาก คือ การใช้เครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และการตลาดโดยการจัดกิจกรรมพิเศษ การรับรู้ปานกลาง คือ การโฆษณา การใช้เครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดสัมมนาและการจัดนิทรรศการ นักท่องเที่ยงส่วนใหญ่มีความถี่ที่เข้ามาเที่ยว 1-2 ครั้งในรอบ 6 เดือน มาเที่ยวกับครอบครัว รองลงมา คือ มาเที่ยวกับเพื่อนและมาเที่ยวกับทัวร์ค่าใช้จ่าย กรณีมากับทัวร์ นักท่องเที่ยวเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1,095 บาทต่อครั้ง กรณีมาคนเดียวนักท่องเที่ยวเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 500 บาทต่อครั้ง ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวแบบวันเดียว (ไป-กลับ)รองลงมา ท่องเที่ยวแบบค้างคืน สถานที่ที่นักท่องเที่ยวเลือกพักค้างคืน เลือกพักโฮมสเตย์ รองลงมา คือบ้านพักส่วนตัวและรีสอทร์ ช่วงวันที่นักท่องเที่ยวมาจังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนใหญ่มาช่วงวันหยุด(เสาร์-อาทิตย์) สถานที่ที่นักท่องเที่ยวชอบไปมากที่สุด วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (หลวงพ่อบ้านแหลม)ดอนหอยหลอด และ อุทยาน ร.2 ส่วนแนวโน้มอีก 6 เดือนข้างหน้า นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มคาดว่าจะมาและแนะนำบุคคลอื่นในการมาท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน อายุ อาชีพ และการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยว (ด้านจำนวนครั้งที่มาเที่ยว) แตกต่างกัน ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยว (ด้านค่าใช้จ่ายกรณีมากับครอบครัว, กรณีมากับเพื่อน) แตกต่างกัน ส่วนพฤติกรรมท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีแนวโน้มการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพว่าไม่แตกต่างกัน

นอกจากนั้นผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดด้านการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งปี และคู่มือการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา ด้านจำนวนครั้งที่มาเที่ยว ด้านรูปแบบการท่องเที่ยว ด้านช่วงวันที่มาท่องเที่ยว สำหรับระดับการรับรู้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาอีก 6 เดือนข้างหน้า และการแนะนำบุคคลอื่นให้มาท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา

DOWNLOAD