Tuna Can Products Buying Behavior of Consumers in Bangkok

โดย กนกพร แม่นธนู

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่ซื้อหรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS for Windows เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐานเชิงพรรณนาที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ไค-สแควร์(Chi – Square) สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และค่าที (t – test) กับ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) สำหรับทดสอบความแตกต่าง ณ ความเชื่อมั่นที่ 95 %

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000บาท ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ชื่นชอบปลาทูน่ากระป๋องประเภทสลัด (มายองเนส) โดยเลือกยี่ห้อซีเล็คทูน่าเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลในเลือกซื้อคือชอบในรสชาติ ส่วนใหญ่ซื้อในซุปเปอร์สโตร์เช่น บิ๊กซี คาร์ฟูร์ เป็นต้น และตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ความถี่ในการซื้อปลาทูน่ากระป๋องต่อเดือนมากกว่า 3 ครั้ง และปริมาณการซื้อต่อเดือนสูงสุด 12 กระป๋อง ต่ำสุด 1 กระป๋อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2กระป๋องต่อเดือน และในการทดสอบสมมติฐานเรื่องความสัมพันธ์พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในด้านบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องด้านประเภทของปลาทูน่า ตราสินค้าและความถี่ในการซื้อ การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องด้านประเภทของปลาทูน่า อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องด้านประเภทของปลาทูน่าและความถี่ในการซื้อ รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องด้านประเภทของปลาทูน่า ตราสินค้าที่เลือกซื้อ และความถี่ในการซื้อส่วนการทดสอบความแตกต่างพบว่า อาชีพและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องด้านจำนวนที่ซื้อต่อครั้งแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

DOWNLOAD