The Marketing Factors That Affect To Behavior of Using Gas Station of Personal Car Drivers in Bangkok Metropolitan

โดย สมชัย ธรรมสนอง

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลกับพฤติกรรมการใช้สถานีบริการน้ำมันของผู้ขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่า Independent t-test,One-Way ANOVA และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 29 – 39 ปี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001–20,000 บาท มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้เป็นรถเก๋ง โดยเลือกใช้บริการสถานีบริการน้ำมันยี่ห้อ ปตท. เชื้อเพลิงที่เติมคือ ดีเซล และใช้บริการช่วงเวลา 17.00-22.59 วัตถุประสงค์ในการเข้ามาใช้บริการภายในสถานีบริการน้ำมันเพื่อเติมน้ำมัน ด้านปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านการบริการ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมาก ส่วนพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย501-1,000 บาท/ครั้ง และมีความถี่ในการใช้บริการ 1 ครั้ง/สัปดาห์

 การทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ประเภทของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลตรายี่ห้อ ชนิดของเชื้อเพลิง และช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มีผลกับพฤติกรรมการใช้สถานีบริการน้ำมัน(ด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการภายในปั๊มน้ำมัน) แตกต่างกัน ตรายี่ห้อที่แตกต่างกัน มีผลกับพฤติกรรมการใช้สถานีบริการน้ำมัน (ด้านค่าใช้จ่ายและความถี่ ในการใช้บริการภายในปั๊มน้ำมัน) แตกต่างกันปัจจัยทางการตลาด คือ ด้านสถานที่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สถานีบริการน้ำมัน(ด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการภายในปั๊มน้ำมัน)

DOWNLOAD