The Evaluation by Quality, Safety & Occupational Health and Environment Management System that used for Terminal Operator at PTT PUBLIC CO., LTD.Year 2007
โดย วิชิต กุญแจทอง
ปี 2550
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงข้อมูลประชากรของพนักงานสายปฏิบัติการคลัง ธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรในด้านระบบบริหารงานคุณภาพ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ ANOVA และ LSD โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการประมวลผล
ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า จำนวนความถี่ และร้อยละของข้อมูลประชากรของพนักงานสายปฏิบัติการคลัง ธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แก่ อายุ อายุงาน ตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา และพื้นที่ปฏิบัติงาน จำนวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพนักงานสายปฏิบัติการคลัง ธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า พนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี รองลงมา อายุระหว่าง 31-40 ปี อายุระหว่าง 21-30 ปี และอายุมากกว่า 51 ปีตามลำดับ พนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุงานตั้งแต่ 26 ปี ขึ้นไป รองลงมาคือ อายุงานตั้งแต่ 16-25 ปี อายุงานตั้งแต่ 5 ปี ลงมา และอายุงานตั้งแต่ 6-15 ปี ตามลำดับ พนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือ ปวส. รองลงมาคือ ระดับปริญญาตรีระดับสูงกว่าปริญญาตรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับประถมศึกษา ตามลำดับ พนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตำแหน่งงานกลุ่มพนักงานปฏิบัติการคลัง ช่างเทคนิคหรือเทียบเท่า รองลงมาคือ ตำแหน่งงานกลุ่มผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่าตำแหน่งงานกลุ่มวิชาชีพหรือวิศวกร ตำแหน่งงานกลุ่มพนักงานธุรการ พนักงานการเงินหรือเทียบเท่า และตำแหน่งงานกลุ่มผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่า ตามลำดับ และพนักงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพื้นที่ปฏิบัติงานกลุ่มคลังน้ำมันและสถานีเติมน้ำมันอากาศยาน รองลงมาคือกลุ่มปฏิบัติงานคลังปิโตรเลียม และกลุ่มสนับสนุนงานคลัง
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรของพนักงานสายปฏิบัติการคลัง ธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในด้านระบบบริหารงานคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.29 ในด้านระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.20 และในด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.35
ข้อเสนอแนะ
1. องค์กรควรมีการมอบหมายงานที่เหมาสมกับวุฒิการศึกษา และคุณวุฒิ พร้อมทั้งจัดให้มีการแข่งขันในการทำระบบ มีการชมเชยให้รางวัลกับกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการจัดทำระบบฯ
2. ควรมีการทดสอบความรู้พนักงาน (Pre-Test) ก่อนที่จะทำการฝึกอบรมทุกครั้ง เพื่อให้ทราบว่าจะเพิ่มเติมความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และหลังการฝึกอบรม ก็ควรทำการทดสอบ(Post-Test) เพื่อจะให้ได้ข้อมูลว่าการฝึกอบรมบรรลุวัตถุประสงค์
3. ฝ่ายบริหารควรจัดทำการประเมินผลงาน โดยให้ตัวชี้วัดผลงานต้องประกอบไปด้วยงานหลัก และงานที่เกี่ยวกับการทำระบบฯ หรือกิจกรรมเสริม (งานหลักประเมิน 60 เปอร์เซนต์ และงานทำ ระบบฯ หรือกิจกรรมเสริม ประเมิน 40 เปอร์เซนต์)
4. จากข้อเสนอแนะ 1-3 ควรจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการนำร่องของระบบงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันต่อไปควรทำการศึกษาวิจัยพนักงานสายงานอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการวิจัยครั้งนี้ ในการทำระบบบริหารงานคุณภาพ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้ทราบความคิดเห็นและนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ต่อไป
Comments are closed.