The Experimental Design for the Improvement of Efficiency Aircraft Engine Case Study: Engine Shop Department

โดย วิลาภ ทองลักษณะวงศ์

ปี      2550

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยฉบับนี้ ทำการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์อากาศยานโดยใช้การออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์อากาศยานหลังจากทำการซ่อมบำรุงและลดต้นทุนการดำเนินงาน ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัจจัยที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานโดยตรง ดังนั้นในการทำวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนามาตรฐานการซ่อมส่วนชุดอัดอากาศความดันสูง(High Pressure Compressor)เป็นหลัก โดยใช้หลักการออกแบบและวิเคราะห์การทดลองเชิงแฟกทอเรียล (Factorial Design)เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์อากาศยาน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้แก่ค่าการเจียระไนของชุด HPC Stator, HPC Rotor (Tip Clearance Limit : CL) และอุณหภูมิหลังการทดสอบเครื่องยนต์ (Exhaust Gas Temperature : EGT) ซึ่งสภาพปัญหาที่พบ(ข้อมูลปี พ.ศ. 2547-2549) คือการไม่ยอมรับผลของการทดสอบเครื่องยนต์ (Rejected) หลังผ่านการซ่อมบำรุงสูงถึง 11 เครื่องจากจำนวนเครื่องยนต์ทั้งหมด 189 เครื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.83

ผลจากการวิจัยทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์อากาศยาน และลดการไม่ยอมรับผลการทดสอบเครื่องยนต์อากาศยาน ซึ่งคิดเป็นต้นทุนการดำ เนินงานได้ถึงปีละ90,410,993.27 บาทหรือคิดเป็น 115.75 % ต่อปี และสามารถกำหนดค่า Tip Clearance Limitของชุดอัดอากาศความดันสูง (High Pressure Compressor) ที่เหมาะสมอยู่ที่ค่า 0.285 มิลลิเมตรที่ระดับความมีนัยสำคัญ 95 % อีกทั้งยังสามารถแนะนำรูปแบบ วิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วๆไปของตัวพนักงานที่ปฏิบัติงานให้ดีขึ้นได้

การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์อากาศยานโดยใช้การออกแบบการทดลองกรณีศึกษา : ศูนย์ซ่อมเครื่องยนต์อากาศยาน