The Contentment of the Registration System from the Rajamangala University of Technology Thanyaburi’s Professor
โดย สายสุนีย์ ศรีสุวรรณ
ปี 2550
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความพึงพอใจของอาจาย์ในระดับปริญญาตรีต่อระบบลงทะเบียน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้ง 9 คณะ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งจำนวน 273 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean, X) ความถี่ (Frequency) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ถ้าพบว่ามีความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) สำหรับ
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windowsผลการวิเคราะห์ทางด้านประชาการผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาโท สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งข้าราชการ
ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับพึงพอใจของอาจารย์ในระบบลงทะเบียนด้านปฏิทินการศึกษาภาคเรียนที่ 2 และขั้นตอนการลงทะเบียนมากที่สุด ดังนี้ ระยะเวลาในการลงทะเบียน ระยะเวลาในการแจ้งปฏิทิน ขั้นตอนการรักษาสภาพของนักศึกษา ระยะเวลาในการลงทะเบียนล่าช้า ตามลำดับโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.19, 4.17, 3.82, 3.81
ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยเข้าใช้งานซอฟต์แวร์ระบบลงทะเบียน จำนวน 84 ตัว ความถี่ในการใช้งานที่ 1-3 ครั้ง โดยเข้าใช้ในช่วงเวลา 06.00-12.00 น. มากที่สุด พบว่าเพื่อการตรวจสอบข้อมูลนักศึกษา ตรวจสอบข้อมูลตารางสอนอาจารย์
ผลการวิเคราะห์สมมุติฐาน
-ระดับความพึงพอใจในปฏิทินการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ขั้นตอนการลงทะเบียนและความคาดหวังไม่แตกต่างกัน ในส่วนของระยะเวลาในการลงทะเบียน , ขั้นตอนการเพิ่ม-ถอนรายวิชา,ระยะเวลาการประกาศการรีไทด์นักศึกษา
-ระดับความพึงพอใจในปฏิทินการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ขั้นตอนการลงทะเบียนและความคาดหวังแตกต่างกัน ในส่วนของระยะเวลาในการเพิ่ม-ถอนรายวิชา , ระยะเวลาในการลงทะเบียนล่าช้า, ระยะเวลาที*อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการลงทะเบียน