Buyer Behavior of Myanmar Goods in Samuthsakorn
โดย โนรี ศิริหงษ์
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในจังหวัดสมุทรสาครเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่เป็นแรงงานต่างด้าวชาวมอญ พม่าและคนไทย ที่อาศัยอยู่ในย่านมหาชัย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจำนวนทั้งหมด 400 คน วิธีการวิจัยเป็นแบบหลายขั้นตอน (Multi stages Random sampling) คือ แบบเจาะจง (Purposive sampling) แบบโควตา (Quota sampling) และแบบสะดวก (Convenience sampling)
ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปีอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้ 4,001-8,000 บาท สถานภาพสมรส สัญชาติมอญ และมีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในย่านมหาชัย 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี กรณีที่เป็นคนต่างด้าว เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าจากประเทศพม่าเนื่องจากคิดว่าสินค้าจากประเทศพม่าดีกว่าสินค้าของประเทศไทย เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าไทยเพราะสินค้าไทยมีคุณภาพ และมาตรฐานดีกว่าสินค้าพม่า สำหรับคนไทยบุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อสินค้าจากประเทศพม่า คือ เพื่อน เหตุผลที่ใช้สินค้าจากประเทศพม่า เนื่องจากต้องการทดลองใช้สินค้าจากประเทศพม่า มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากประเทศพม่าประมาณ 2,087 บาท/เดือนความถี่ในการซื้อประมาณ 21 ครั้ง/เดือน ประเภทสินค้าที่นิยมเลือกซื้อ คือ แป้งทะนะคา หอม/กระเทียม ถั่วยูซะนะ ผ้าถุง ผักป่า หมากปรุงสำเร็จ และธูป/เทียน