The Study of Satisfaction on Service of the Office of Administration in the View Point of Students of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Prachinburi
โดย นิรชา นาจารย์
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจที่มีต่องานบริการในสำนักงานกองงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ซึ่งจะทำให้ทราบข้อบกพร่องและข้อเสนอของงานบริการในสำนักงานกองงาน ต่อไปส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติในการวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้ คือ ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบ t-test และ ANOVA
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจโดยรวม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลโดยภาพรวม พบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในแต่ละด้านพบว่า ด้านบริการ ด้านอาคารสถานที่ และด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 4.36 4.07 และ 4.02 ตามลำดับซึ่งมีความพึงพอใจในอยู่ระดับมาก และความพึงพอใจในภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ในด้านบุคลากร พบว่า เจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถ สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.12 ในด้านบริการพบว่า มีการให้บริการก่อนหลังตามลำดับผู้มาใช้บริการและเวลาในการเปิดให้บริการในวันเวลาราชการ 08.30 – 19.00 น.มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ในด้านอาคารและสถานที่พบว่า มีแสงสว่างเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 มากที่สุด และด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี พบว่าที่กดบัตรคิวสำหรับรอรับบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.18 มากที่สุด
และจากการทดสอบสมมติฐานแล้ว โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในภาพรวมพบว่า เพศ สภาพการเรียน ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปัจจัยต่อความพึงพอใจในภาพรวม ส่วนชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่อยู่ตามภูมิลำเนา ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนำไปทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD เพื่อหารายคู่ที่แตกต่างกัน และข้อเสนอแนะที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามซึ่งเป็นความคาดหวังที่นักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามอยากจะให้ทางสำนักงานกองงานปรับปรุง คือ การปรับปรุงเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การติดตั้งพัดลมไอน้ำในหลาย ๆ จุด เพื่อบรรเทาอากาศร้อนในช่วงเวลากลางวันและ ช่วงเวลาที่มีนักศึกษามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงเวลาลงทะเบียนประจำภาคการศึกษาใหม่