Comparative Study of Student Satisfaction with Dormitory Services of Rajamangala University of Technology Thanyaburi and Surrounding Private Dormitories

โดย ดวงใจ เนตระคเวสนะ

ปี     2551

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ภาคปกติ) ต่อการใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยและหอพักเอกชน ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษากลุ่มตัวอย่างจากหอพักมหาวิทยาลัย จำนวน 200 คนและจากหอพักเอกชนที่จดทะเบียนแล้ว บริเวณหมู่บ้านพรธิสารใกล้เคียงมหาวิทยาลัย จำนวน 10 แห่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน รวมเป็น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี+ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม (Independent Sample T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของลักษณะด้านประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป(One Way ANOVA) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้วิธีการของ Fisher’s Least Significant Difference (LSD) โดยนำไปใช้ทดสอบสมมุติฐานเป็นรายคู่ต่อไป เพื่อดูว่ามีคู่ใดบ้างที่แตกต่างกัน

ผลการวิเคราะห์ทางด้านประชากร ของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยและหอพักเอกชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ โดยกลุ่มตัวอย่างจากหอพักมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รายได้ต่อเดือนอยู่ในระดับ 3,001-5,000 บาท และกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างจากหอพักเอกชน พบว่ามีอายุระหว่าง 21- 22 ปี ภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคกลาง รายได้ต่อเดือนอยู่ในระดับ3,001-5,000 บาท และ 5,001- 7,000 บาท กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 เป็นส่วนใหญ่

ผลการวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7’P) ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาที่ใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยและหอพักเอกชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากหอพักมหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญทางด้านลักษณะทางกายภาพมากที่สุด คือหอพักแยก ชาย – หญิง มีสภาพแวดล้อมภายนอกสวยงาม เช่น บริเวณหอพัก สวน สนามมีการตกแต่งพื้นที่ส่วนกลางเป็นสัดส่วน เป็นต้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 , 3.69 และ 3.59ตามลำดับ และมีความพึงพอใจในระดับปานกลางทางด้านสถานที่ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล และ ด้านราคา ตามลำดับ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามจากหอพักเอกชนจะให้ความสำคัญมากที่สุด ทางด้านสถานที่ คือด้านทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย อยู่ใกล้แหล่งชุมชน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 และ 3.91 ตามลำดับ และอยู่ใกล้สถานพยาบาล ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97
ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า
1. นักศึกษาที่ใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัย ที่มีเพศ อายุ และภูมิลำเนาที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. นักศึกษาที่ใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยที่ศึกษาคณะ และชั้นปีที่ศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. นักศึกษาที่ใช้บริการหอพักเอกชนที่มีเพศ อายุ และภูมิลำเนาที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักเอกชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. นักศึกษาที่ใช้บริการหอพักเอกชนที่ศึกษาคณะ และชั้นปีที่ศึกษาต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักเอกชนไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
5. นักศึกษาที่ใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยและหอพักเอกชนที่มีรายได้ต่อเดือน และสถานที่พักที่ต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยและหอพักเอกชนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

DOWNLOAD : Comparative Study of Student Satisfaction with Dormitory Services of Rajamangala University of Technology Thanyaburi and Surrounding Private Dormitories

Comments are closed.