The Successful Performance of the Third Strategy of the Department of Land Transport’s Campaign to Prevent and Decrease Road Accidents Land Transport Office, Nakhonnayok Province

โดย สุมนา ชวลิต

ปี     2552

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ที่ใช้รถใช้ถนนสัญจรไปมาในเขตจังหวัดนครนายกและเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์พหุคูณเชิงบวกระหว่างประเภทสื่อในการรับข้อมูลข่าวสาร และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมการขนส่งทางบก ในการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายก

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนสัญจรไปมาในพื้นที่จังหวัดนครนายกที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (r) ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 35 -44 ปี สถานภาพโสด ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างเอกชนในบริษัท / ร้านค้า มีการศึกษาระดับอนุปริญญา / ปวส. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,100 – 6,000 บาท และใช้ยานพาหนะประเภทรถจักรยานยนต์มากที่สุด ด้านประเภทสื่อในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนพบว่ามีการรับข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ด้านทัศนคติต่อการจัดกิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พบว่าทัศนคติประชาชนที่เข้าใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมการขนส่งทางบก ในการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายกพบว่าในด้านการอำนวยความสะดวกมีการจัดตั้งจุดพักรถและจุดอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย มีการจัดกิจกรรมตรวจรถก่อนใช้ปลอดภัยแน่นอน ด้านความมั่นคง มีการอยู่เวรยาม24 ชั่วโมง ส่วนด้านภาพรวม ลำดับที่ 1 คือ ด้านการอำนวยความสะดวก ลำดับที่ 2 คือ ด้านความปลอดภัย และลำดับที่ 3 คือ ด้านความมั่นคง และผลการทดสอบสมมติฐานตามวัตถุประสงค์การวิจัยพบว่าด้านข้อมูลทั่วไป อายุที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมการขนส่งทางบก ในการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายก ด้านการอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน ส่วนด้านประเภทสื่อในการรับข้อมูลข่าวสารต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมการขนส่งทางบก ในการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของสำนักงานขนส่งจังหวัดนครนายก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความถดถอยพหุคูณพบว่าประเภทสื่ออินเตอร์เน็ต (X[subscript4])มีสหสัมพันธ์พหุคูณเชิงบวก กับความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ในด้านภาพรวม (Ŷ[subscript t]) โดยมีทิศทางเดียวกันและสามารถนำมาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ คือ Ŷ[subscript t] = 1.413 0.008(X[subscript1])+0.274(X[subscript2])+0.041(X[subscript3])+0.251(X[subscript4])+ 0.123(X[subscript5])-0.154(X[subscript6])-0.078(X[subscript7]) สามารถทำนายสมการได้ 77.40% และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.931 และประเภทสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ (X[subscript5]) กับแผ่นพับ (X[subscript6]) มีสหสัมพันธ์พหุคูณเชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการอำนวยความสะดวก (Ŷ[subscript t]) และด้านทัศนคติต่อการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการอำนวยความสะดวกด้านความมั่นคง และด้านภาพรวม แต่ไม่มีความสัมพันธ์กันใน ด้านความปลอดภัย

DOWNLOAD : The Successful Performance of the Third Strategy of the Department of Land Transport’s Campaign to Prevent and Decrease Road Accidents Land Transport Office, Nakhonnayok Province