Factors Affecting Ecotourism Component Management of Mon Samkhok Community, Pathum Thani Province

โดย ขนิษฐา สุจริต

ปี     2552

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนมอญสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจัดองค์ประกอบการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่นิยมการท่องเที่ยวในประเทศ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวที่ชุมชนมอญสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้การสุ่มตัวอย่างง่ายแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการค้นคว้าอิสระพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 15 – 30 ปีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพหลักเป็นพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001 – 15,000 บาท และที่อยู่ในปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดภาคกลาง การท่องเที่ยวและการเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อของนักท่องเที่ยวชาวไทย วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจร่างกายและสมอง การจัดการเดินทางส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว แบบแผนการเดินทางส่วนใหญ่มา 3 – 5 คน ความถี่ในการมาท่องเที่ยวมา 1 – 2 ครั้ง ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางใช้รถยนต์ส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่าย 1,001 – 1,500 บาทประเภทสื่อที่รับรู้ข่าวสารการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากคนรู้จักแนะนำ วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนมอญสามโคก พบว่าประเพณีของชาวมอญอยู่ในระดับดีมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความถดถอยพหุคูณพบว่า ด้านประเพณี (X1) ด้านอาชีพ (X2) ด้านการละเล่น (X4) และในด้านการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น (X6) มีความพันธ์กับระดับความคิดเห็นต่อการจัดองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างสมบูรณ์ของชุมชนมอญสามโคก (Ŷt) โดยมีทิศทางเดียวกัน และสามารถนำมาสร้างเป็นสมการพยากรณ์ คือ Ŷt = 1.271 + 0.211X1+ 0.124 X2 + 0.106 X4 + 0.181 X6 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.640 สามารถทำนายสมการได้ร้อยละ 40.3