Work Performance Problems and Obstacles of Tax Auditors
โดย นรีรัตน์ ใยบัว
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดขึ้นโดยอธิบดีกรมสรรพากรโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตการศึกษาครั้งนี้ ต้องการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร เพื่อทราบถึงปัญหา ความสำคัญของปัญหา โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2553 กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 346ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Anova การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS งานวิจัยนี้กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 35 – 44 ปี การศึกษาปริญญาโท สถานภาพสมรส มีรายได้จากการรับตรวจสอบ 1 – 200,000 บาท ระยะเวลาในการทำงานเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร 1 – 2 ปี จำนวนลูกค้าที่รับตรวจสอบ 1 – 100 ราย พื้นที่การให้บริการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ติดต่อลูกค้าผ่านสำนักงานบัญชี ประเภทกิจการทั้งซื้อมาขายไปและให้บริการระยะเวลาเฉลี่ยต่อการตรวจสอบลูกค้า 1 ราย ใช้เวลา 1 – 2 วัน ทุนจดทะเบียนของลูกค้าไม่เกิน 1 ล้านบาท รายได้ของลูกค้าส่วนใหญ่ 1 – 5,000,000 บาท ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ด้านเอกสารของผู้ประกอบการที่ส่งให้ตรวจสอบ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดคือเรื่องความไม่ครบถ้วนของเอกสารที่ส่งให้ตรวจสอบ ด้านการตรวจสอบและรายงานการตรวจสอบ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องไม่ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ ด้านค่าตอบแทน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับไม่เป็นที่น่าพอใจ ด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องการไม่มีความรู้ด้านบัญชีและภาษีของผู้ประกอบการ
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบ และปัญหาในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยที่แตกต่างกันและทำให้ผลการวิเคราะห์แตกต่างกันได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงานเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร การติดต่อกับลูกค้า และจำนวนลูกค้า ส่วนปัจจัยที่แตกต่างกันแต่ไม่ทำให้ผลการวิเคราะห์แตกต่างกันได้แก่ เพศสถานภาพ รายได้ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร พื้นที่การให้บริการ ประเภทกิจการของลูกค้า ระยะเวลาในการตรวจสอบลูกค้า 1 ราย ทุนจดทะเบียน และรายได้ของลูกค้า
The tax auditor is the position designated by the Director-General of the Revenue Department by virtue of the Revenue Code Section 3 Septem for the purpose of collecting tax from registered limited partnerships exempted from having the accounts audited and commented by Certified Public Accountants. The study was conducted to investigate the work performance problems and obstacles of the tax auditors. The sample group consisted of 346 tax auditors who had been obtained licenses from the Revenue Department on 20th October B.E. 2553. The questionnaires were used as a data collection instrument. The data were analyzed using Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test Anova, and performed by the application of the Statistical Package for the Social Sciences (SPSS).
The study results indicated that most of the respondents were male, 35-44 years old, held Master’s degree, married, earned average income of 1-200,000 Baht from auditing services, had experience in tax auditing for 1-2 years, provided auditing services to 1-100 clients, provided auditing services in Bangkok Metropolitan and its vicinity, made contact with the clients through account offices, provided auditing services to merchandising firms, spent 1-2 days per client for auditing services, the clients had authorized capital of less than 1 million Baht, and most of the clients earned income of 1-5,000,000 Baht.
The work performance problems of the tax auditors in the aspect of entrepreneurs’ documents required for auditing showed moderate level of problems, and the most significant problem was that the clients provided incomplete documents for auditing. The aspects of auditing and audit reporting indicated moderate level of problems and the most significant problem was that the inventory was not observed. The aspect of compensation revealed moderate level of problems and the most significant problem was unsatisfying compensations. The other aspects were at moderate level of problems and the most significant problem was that the entrepreneurs did not know about accounting and tax.
The analysis of relationship on demographic factors, factors affecting the auditing , and work performance problems revealed that different factors causing differences in the result analysis were age, level of education, work experience in tax auditing, making contact with clients, and the number of clients. The difference of factors causing no differences in the result analysis were age, status, tax auditors’ income, area of service providing, types of clients’ business, time spent for auditing per client, authorized capital, and clients’ income.
DOWNLOAD : Work Performance Problems and Obstacles of Tax Auditors