ระดับการรับรู้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อ พฤติกรรมการท่องเที่ยวเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
โดย กุลธิดา ฐิตะสุต
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ระดับการรับรู้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมานใช้ One-Sample T-Test, Independent T-Test, One-way Anova Pearson Correlation และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) การเปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple Comparisons)
ผลการวิเคราะห์ พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 420 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่างมีอายุ 26 – 30 ปี สถานภาพเป็นโสด ทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยวชาวไทยมีระดับการรับรู้ด้านการใช้สื่ออื่นๆ คือ การสื่อสารรูปแบบปากต่อปากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่เคยไปท่องเที่ยวเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญกับด้านสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยอยากมาเมืองโบราณ คือ มาเมืองโบราณสามารถพบสถานที่สำคัญต่างๆทั้ง 72 จังหวัด โดยมีความถี่ในการมาท่องเที่ยวเมืองโบราณประมาณ 1 ครั้งต่อปี มีจำนวนการมาท่องเที่ยวเมืองโบราณโดยเฉลี่ย 2 ครั้ง มีจำนวนบุคคลที่มาท่องเที่ยวเมืองโบราณโดยเฉลี่ยมีจำนวน 5 คน ใช้ระยะเวลาในการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองโบราณ
โดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมงการประเมินผลหลังการเข้าไปท่องเที่ยวสถานเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมภายในเมืองโบราณ คือ การจำลองเมือง
โบราณในส่วนของภาคใต้
The study was carried out to investigate the levels of perception of Thai tourists at MuangBoran, Samut Prakarn Province on marketing communication tool that affected the touring behavior.
The sample of the study was composed of 420 Thai tourists, over 18 years of age, visiting Muang Boran in Samut Prakarn Province. The questionnaire was used as a data collection instrument, and the
analysis of data was done through the application of Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) using Percentage, Means, Standard Deviation, One-Sample t-test, Independent t-test, One-way ANOVA, Pearson Correlation, and Least Significant Difference (LSD), and Multiple Comparisons.
The study showed that most of the respondents were female, 26-30 years old, single, worked in private firms, and lived in Bangkok. The level of perception on the other communication tool of Thai
tourists was word of mouth communication in order to exchange experiences among the persons who had visited Muang Boran. The significant reason of the tourists’ needs to visit Muang Boran was that they could go round the tourist attractions of the 76 provinces of Thailand. The Thai tourists visited Muang Boran once a year with a group of average 5 persons and spent average 5 hours for the visit. The assessment result conducted after the visit demonstrated that the tourists’ satisfaction towards the environment in Muang Boran was the scaled down replicas of important architectures of the southern part of Thailand.