The study of Thai Language caption for the Deaf’s Educational film
โดย ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร, วสันต์ สอนเขียว
ปีงบประมาณ 2550
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “ ลักษณะของคำบรรยายอักษรภาษาไทย (Thai Language Caption) ที่เหมาะสมในภาพยนตร์ เพื่อการศึกษาสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental) โดยการเปรียบเทียบการรับรู้ภาพยนตร์จากผู้พิการทางการได้ยินจาการชมภาพยนตร์ เพื่อการศึกษาที่มีคำบรรยายใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 ระดับการศึกษา คือนักศึกษาผู้พิการทางการได้ยิน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนดอนบอสโก และนักศึกษาผู้พิการทางการได้ยิน ระดับอุดมศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับการศึกษาละ 15 คน จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 คน ให้ชมภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มีการจัดกระทำ (treatment) โดยมีอักษรบรรยายใต้ภาพแบบที่ 1 ซึ่งเป็นคำบรรยายใต้ภาพแบบทั่วไปไม่ได้ทำการจัดเรียงประโยคให้เหมาะสมกับการอ่านของผู้พิการทางการได้ยิน จากนั้นจึงทำการเก็บข้อมูลโดยให้ทำแบบทดสอบความเข้าใจในเอหา แล้วทำการเก็บข้อมูลอีกครั้งโดยทิ้งระยะประมาณ 1 สัปดาห์ทำการเก็บข้อมูลโดยให้ชมภาพยนตร์เพื่อการศึกษาเรื่องเดียวกันโดยมีอักษรบรรยายใต้ภาพแบบที่ 2 ซึ่งเป็นคำบรรยายใต้ภาพที่ได้ทำการจัดเรียงประโยคให้เหมาะสมกับการอ่านของผู้พิการทางการได้ยิน โดยวัดผลคะแนนจากแบบทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาหลังชมภาพยนตร์เพื่อการศึกษา นำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกัน แล้วทำการศึกษาแบบเดียวกันกับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในแผนการพิมพ์โรงเรียนดอนบอสโก วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาผู้พิการทางการได้ยินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และผู้พิการทางการได้ยิน ระดับอุดมศึกษามีรับรู้ภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มีคำบรรยายแบบที่ 2 ได้ดีกว่าการรับรู้ภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มีคำบรรยายแบบที่ 1 นักศึกษาผู้พิการทางการได้ยินระดับอุดมศึกษารับรู้ภาพยนตร์ที่มีคำบรรยายแบบที่ 1 ได้ดีกว่านักศึกษา ผู้พิการทางการได้ยินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ นักศึกษาผู้พิการทางการได้ยินระดับอุดมศึกษารับรู้ภาพยนตร์ที่มีคำบรรยายแบบที่ 2 ได้ดีกว่านักศึกษาผู้พิการทางการได้ยินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ คำบรรยายแบบที่ 2 สามารถทำให้ผู้พิการทางการได้ยิน มีการรับรู้ภาพยนตร์เพื่อการศึกษาได้ดี ที่สุด เพราะจำนวนคำบรรยายมีน้อย ทำให้ลดภาระการอ่านคำบรรยายลง และสื่อภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มีการนำเสนอด้วยภาพ (visual communication) ทำให้ผู้พิการทางการได้ยินสามารถรับรู้ภาพยนตร์เพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี
The research study primarily focuses on the topic of the caption that is suitable for the deaf’s educational film. The quasi experiment is applied by using group post – test only design method. The experiment performs into the same groups. The first experimental, 15 students, is designed to the prototype 1 caption. The second experimental, 15 students, is designed to watch the prototype 2 caption. The data is collected from the deaf student by 15 higher education students and 15 diploma students. The result is collected immediately after watching of the educational film. Means of percentage, frequency, t- test were used to analysis the data. The resulted of deaf’s perception of the educational film to the prototype 1 caption and the prototype 2 caption, is different. The caption’s exposure; prototype 2 caption has better perception of the educational film than the prototype 1 caption. The higher education deaf students’s exposure to the prototype 1 caption and the prototype 2 caption, has better perception than the diploma deaf students. The prototype 2 caption is an appropriate caption for the deaf’s perception of the educational film. It is able to reduce a reading caption. Because of the educational film is a visual communication media, the deaf’s perceive well.
DOWNLOAD : The study of Thai Language caption for the Deaf’s Educational film