The development of pretratment system of rainwater for laboratory

โดย ณัฐพร อารีรัชชกุล, มังกร กิติพัฒน์มนตรี, จุไรรัตน์ ดวงเดือน

ปี   (2552)

บทคัดย่อ

น้ำฝนถูกใช้ในการบริโภคในประเทศไทย โดยเฉพาะในชนบทเป็นระยะเวลายาวนานมาแล้วอีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำที่มีความสำคัญ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คุณภาพของน้ำฝนได้เปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิประเทศและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ จากการใช้ที่ดินหรือจากแหล่งมลพิษอื่นๆ รวมทั้งอุตุนิยมวิทยาและแหล่งที่เก็บน้ำฝนด้วย ในการศึกษานี้ คุณภาพของน้ำฝนได้เก็บจากหลังคาจากหลายพื้นที่และยังเก็บจากน้ำฝนที่ตกมาโดยตรงการใช้ ถ่านแบบกนานุจ หรือแบบเม็ดในการบำบัดน้ำฝน ขั้นตอนเพื่อที่จะขจัดปริมาณสารอินทรีย์,หลังจากดำเนินการในช่วงแรก จากการดูดซับของสารอินทรีย์เม็ดถ่าน การเกิดฟิลม์ชีวภาพรอบเม็ดถ่านเริ่มเกิดขึ้นและสามารถขจัดสารอินทรีย์ในน้ำฝนได้ 40%, 35% และ 15% จากคอลัมน์ตัวกลางถ่านขนาดความสูงของตัวกลาง 15 ซม. 10 ซม. และ 5 ซม. ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าตัวกรองชีวภาพจากเม้ดถ่านยังสามารถขจัดไนเตรตและฟอสเฟต 80% และ 35% ตามลำดับ การใช้ตัวกรองเมมเบรนขนาดไมโครฟิวเทรชั่นขนาด 0.1 ไมครอน พบว่าหลังจากผ่านตัวกรองชีวภาพแล้ว การขจัดสารอินทรีย์เป็นไปได้ไม่ดี แต่สามารถขจัดจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำหลังการผ่านกระบวนการตัวกรองชีวภาพ ดังนั้นจากการศึกษานี้พบว่าการใช้ตัวกรองชีวภาพถ่านเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและยังลดการอุดตันของเมมเบรน ทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น

DOWNLOAD : The development of pretratment system of rainwater for laboratory