Utilization of spirulina platensis for traditional alcoolic beverage wastewater treatment

โดย สุจยา ฤทธิศร

ปี     2551

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายเกลียวทองในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสุราแช่พื้นบ้าน โดยทำการศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายเกลียวทอง ที่ความหนาแน่นเริ่มต้นของสาหร่าย 10% 20% และ 30% ลักษณะน้ำเสียของโรงงานสุราแช่พื้นบ้านเมื่อตกตะกอนด้วยสารส้มแล้วมีค่าซีโอดี เท่ากับ 680 มิลลิกรัม/ลิตร แอมโมเนียไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ 9.850 มิลลิกรัม/ลิตร ไนเตรทมีค่าเท่ากับ0.192 มิลลิกรัม/ลิตร และฟอสฟอรัสทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 5.635 มิลลิกรัม/ลิตร จากผลการศึกษาความหนาแน่นของสาหร่ายที่ แตกต่างกันพบว่า สาหร่ายความหนาแน่น 30% มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหรรมสุราแช่พื้นบ้านได้ดีที่สุด เมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น โดยมีประสิทธิภาพดังนี้ ค่าซีโอดีร้อยละ 86.03 แอมโมเนียไนโตรเจน ร้อยละ 52.74 ไนเตรทไนโตรเจน ร้อยละ 41.41 และฟอสฟอรัสทั้งหมด ร้อยละ52.55 ได้ทำการศึกษาปริมาณของสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายเกลียวทองในน้ำเสียจากโรงงานสุราแช่พื้นบ้านในสภาพกลางแจ้งพบว่า ปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมคือ NaHCO[subcript 3]7 กรัม/ลิตร K[subcript 2]HPO[subcript 4]0.4 กรัม/ลิตร NaNO[subcript 3]1.3 กรัม/ลิตร และปุ๋ย NPK 0.6 กรัม/ลิตร เมื่อทดลองเพาะเลี้ยงด้วยสูตรดังกล่าวเป็นเวลา 22 วัน นำสาหร่ายไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการทางโปรตีน พบว่ามีโปรตีน 41.0% ส่วนการเพาะเลี้ยงที่ไม่มีการเติมสารอาหารมีโปรตีน 28.8%

DOWNLOAD : Utilization of spirulina platensis for traditional alcoolic beverage wastewater treatment