Development of Transformation Textile Product from Mulberry Fiber
โดย กิติยาพรรณ โพธิ์ล่าม, สาคร ชลสาคร, อุไรวรรณ คำสิงหา
ปี 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาวะที่เหมาะสมในการผลิต Technical Textile จากใยหม่อน แปรรูป Technical Textile จากใยหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์โคมไฟและศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์โคมไฟ การศึกษาครั้งนี้วางแผนการทดลองแบบ Experiment Design of Randomized Completed Block Design: RCBD จากนั้นศึกษาสมบัติของ Technical Textile จากใยหม่อนโดยใช้มาตรฐาน American Society for Testing and Materials (ASTM) ศึกษาคุณลักษณะที่ต้องการของ Technical Textile โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คนเป็นผู้ประเมิน และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์โคมไฟ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-Way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิต Technical Textile จากใยหม่อน คือ ใช้ผงแป้ง PVA ในปริมาณ 5 กรัม และระยะเวลา 20 นาที ในการตีใยหม่อนด้วยเครื่องจักร และ Technical Textile จากใยหม่อนมีคุณลักษณะที่ต้องการอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ด้านข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มากกว่าครึ่งเล็กน้อยมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท สำหรับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์โคมไฟ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับสูงต่อผลิตภัณฑ์โคมไฟรูปแบบที่ 1 ที่ใช้เทคนิคการขัดสาน โดยพึงพอใจโคมไฟแบบตั้งพื้นสูงที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปริมาณผงแป้ง PVA และระยะเวลาที่ใช้ในการตีใยหม่อนด้วยเครื่องจักรที่ต่างกัน มีผลต่อค่าความหนาและความต้านทานต่อการฉีกขาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
DOWNLOAD : Development of Transformation Textile Product from Mulberry Fiber