The use of biomass garbage ash in development of innovation lightweight concrete wall for building insulation

โดย วีระศักดิ์ ละอองจันทร์, หมิง จิ๋ง

ปี     2551

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การใช้เถ้าขยะชีวมวลในการพัฒนานวัตกรรมผนังคอนกรีตมวลเบาเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร โดยในส่วนของงานวิจัยใช้เถ้าขยะชีวมวลคือ เถ้าแกลบ, เถ้าอ้อย ผสมกับ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1, ทรายในอัตราส่วนต่างๆ ทำการศึกษากำลังอัดของก้อนมอร์ต้ามวลเบาตัวอย่างขนาด 5.0×5.0×5.0 เซนติเมตร, ทดสอบการเป็นฉนวนกันความร้อนในแบบห้องจำลองภาคสนามรวมทั้งการทดสอบการดูดซึมน้ำของก้อนตัวอย่างคอนกรีตบล็อก จากการศึกษาพบว่ากำบังอัดของก้อนมอร์ต้าตัวอย่างที่ อายุ 7 วัน, 14วัน และ 28 วัน ผลการทดลองพบว่ากำลังอัดนั้นความแข็งแรงขึ้นอยู่กับปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ ถ้าใช้ปูนซีเมนต์มากค่ากำลังอัดของตัวอย่างจะมากขึ้นตามไปด้วย

ในส่วนของการศึกษาการเป็นฉนวนกันความร้อนของคอนกรีตบล็อกในแบบห้องทดสอบและจำลองพบว่าคอนกรีตบล็อกในส่วนผสมของเถ้าแกลบมีความเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีกว่าคอนกรีตบล็อกในส่วนผสมของเถ้าอ้อย เนื่องจากเถ้าแกลบมีความละเอียดมากกว่าเถ้าอ้อย และการศึกษาการดูดซึมน้ำของก้อนตัวอย่างคอนกรีตบล็อก พบว่าก้อนตัวอย่างคอนกรีตบล็อกในส่วนผสมของเถ้าแกลบมีการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 32% ซึ่งมีมากกว่าก้อนตัวอย่างคอนกรีตบล็อกในส่วนผสมเถ้าอ้อยมีการดูดซึมน้ำร้อยละ 31%

DOWNLOAD : The use of biomass garbage ash in development of innovation lightweight concrete wall for building insulation