Knowledge Management of Graduated Instruction to society
โดย เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก
ปี 2552
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการความรู้ทั้งต่างประเทศและในประเทศพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม และศึกษาผลการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้มาโดยการคัดสรรจากต่างประเทศ จำนวน 31 รูปแบบ จากในประเทศ จำนวน 27 รูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ จำนวน 3 ท่าน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน ผู้ได้รับความรู้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 80 คน บุคคลทั่วไป จำนวน 44 คน และผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบจำนวน 25 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์การจัดการความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินรูปแบบการจัดการความรู้แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการความรู้ของผู้ดำเนินการจัดการจัดการความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการความรู้ของผู้ไดรับความรู้ และแบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- แนวคิดการจัดการความรู้ต่างประเทศและในประเทศ พบว่า ด้านกระบวนการจัดการ ความรู้ ประกอบด้วย การกำหนด การสืบค้น การสร้าง การจัดเก็บ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประเมิน สำหรับด้านองค์ประกอบ/ปัจจัย/กิจกรรม เกี่ยวข้องกับสังคม ความรู้ และปัจจัยอื่น
- รูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม ได้แก่ด้านองค์ประกอบ ประกอบด้วย ความรู้ภายในบุคคล ความรู้ภายนอกบุคคล และสังคม ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การกำหนดความรู้ การสืบค้นความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการประเมินความรู้
- การกำหนดความรู้ ประกอบด้วย ความรู้หลัก แนวปฏิบัติ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด เทคโนโลยี และการประเมินผล
- การสร้างความรู้ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม สื่อและการวัดและประเมินผล
- การจัดเก็บความรู้ ประกอบด้วย เทคโนโลยีดั้งเดิม เทคโนโลยีกระบวนการเทคโนโลยีสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่อบุคคล
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย การสื่อสารแบบทางเดียว การสื่อสารแบบสองทาง การสื่อสารแบบประสานเวลา การสื่อสารแบบต่างเวลา และการสื่อสารแบบผสมผสาน
- การประเมินผลความรู้ ประกอบด้วย การประเมินผลระหว่างการดำเนินการ การประเมินผลหลังดำเนินการ การประเมินผลความรู้ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลทัศนคติ
- ในแต่ละกระบวนการประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
- การกำหนดความรู้ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1)การกำหนดตำแหน่งผู้รับผิดชอบและวิธีติดต่อสื่อสาร 2)ความรู้หลัก 3)แนวปฏิบัติ 4)กลยุทธ์ 5)ตัวชี้วัด 6)เทคโนโลยีหรือเครื่องมือ 7)การประเมินผล และ 8)การอนุมัติหรือประกาศใช้การกำหนดความรู้
- การสืบค้นความรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)กำหนดผู้สืบค้นความรู้ 4)การกำหนดระดับความรู้ 5)การกำหนดเครื่องมือ/สื่อในการสืบค้น และ 6) การอนุมัติหรือประกาศใช้การสืบค้นความรู้
- การสร้างความรู้ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)กำหนดผู้สร้างความรู้ 4)การกำหนดเนื้อ 5)การกำหนดกิจกรรม 6)สื่อ 7)การวัดประเมินผล และ 8) การอนุมัติหรือประกาศใช้การสร้างความรู้
- การจัดเก็บความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)กำหนดผู้จัดเก็บความรู้ 4)การกำหนดเทคโนโลยีหรือสื่อ และ 5)การอนุมัติหรือประกาศใช้การจัดเก็บความรู้
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)การกำหนดวิธีการสื่อสาร 4)การกำหนดรูปแบบการสื่อสาร และ 5)การอนุมัติหรือประกาศใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- การประเมินผลความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)การกำหนดการประเมินผลระหว่างดำเนินการ 4)การกำหนดการประเมินผลหลังการดำเนินการ และ 5)การอนุมัติหรือประกาศใช้การประเมินผลความรู้
3. ผลการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม พบว่า
- ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตสู่สังคมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ผู้เรียนในฐานะผู้ดำเนินการจัดการความรู้ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบและเป็นรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับผลการประเมินความรู้ความสามารถที่ได้จากการจัดการความรู้ของกลุ่มตัวอย่างดำเนินการจัดการความรู้ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของสังคมกลุ่มเป้าหมาย (นักศึกษาระดับปริญญาตรี) พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (รวม 4 ชั้นปี) ที่มีต่อสื่อสารการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการจัดการความรู้ระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบการนำเสนอ พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ที่ได้รับ พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่พบว่า ด้านความรู้ที่ได้รับ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
- ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของสังคมกลุ่มเป้าหมายบุคคลทั่วไป พบว่า ความคิดเห็นโดยรวม ของผู้ได้รับความรู้บุคคลทั่วไปที่มีต่อสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้จากการจัดการความรู้ระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบการนำเสนอ พบว่าบุคคลทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วน ด้านความรู้ที่ได้รับ พบว่า บุคคลทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. การรับรองรูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคูณวุฒิทำงานการรับรองรูปแบบในองค์ประกอบ กระบวนการ และขั้นตอนในทุกประเด็นของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าเป็นรูปแบบที่ดีมากและดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ
DOWNLOAD : Knowledge Management of Graduated Instruction to society