A Study on Tart Chao Reun (the Dominant Basic Element of the Body and Soul Theory) Effecting Facial Skin : A Case Study of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathumthani Campus

โดย กมลรัตน์ ณ หนองคาย, ภมรศรี โพธิ์รัง, อุบล บุญรอด

ปี    2551

บทคัดย่อ

การศึกษาทฤษฎีธาตุเจ้าเรือนที่มีผลต่อสภาพผิวหน้า : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วิทยาเขตปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนกับสภาพผิวหน้า ตามหลักการแพทย์แผนไทยการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaires) โดยมีส่วนประกอบด้วยกัน 2 หมวด คือ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและหมวดที่ 2 ลักษณะทั่วไปส่วนบุคคลวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูล และตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ สถิติวิเคราะห์โดยใช้ค่าไคว์สแคว์ (Chi – square) และค่าสหสัมพันธ์ (corelation) ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนกับลักษณะทั่วไปส่วนบุคคล พบว่า ลักษณะรูปร่าง มีความสัมพันธ์กับธาตุเจ้าเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ x[superscript2] = 16.888 และ P – Value = 0.050  0.05 ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนกับลักษณะทั่วไปส่วนบุคคลแตกต่างกันตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย (เพ็ญนภา 2544) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับผลสรุปการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนกับลักษณะโครงสร้างกระดูก ลักษณะผิวพรรณ ลักษณะผม ลักษณะเหงื่อ ลักษณะมือ ลักษณะเสียง ลักษณะการพูดจา ลักษณะการทนร้อนทนหนาว ลักษณะการกินอาหาร ลักษณะความจำ ลักษณะความคิด ลักษณะอารมณ์ ลักษณะอาหารที่ชอบ ลักษณะความรู้สึกทางเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับธาตุเจ้าเรือน ดังนั้นจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตอบสนองสมมุติฐานงานวิจัยเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างอาจจะไม่ใหญ่และกระจายกว้างพอที่จะทำให้เห็นผลเด่นชัดได้และอาจต้องใช้การวิจัยเก็บข้อมูลในเชิงลึกต้องละเอียดถึงการเปลี่ยนแปลงของสมมุติฐานทั้ง 4 และมูลเหตุการณ์เกิดโรค 8 ประการของกลุ่มตัวอย่างทั่วทุกภาคในประเทศไทยและอาจต้องใช้ระยะเวลาในการทำการวิจัยนานพอสมควร