Internet Cafe Service Providers’ in Bangkok Knowledge and Understanding to Computer Crime ACT B.E. 2007
โดย สุภาพร คูพิมาย และนภาพร นิลาภรณ์กุล
ปี 2552
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุ้ความเข้าใจของผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ต ที่มีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-Way ANOVA วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสันการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า สถานภาพด้านอายุ และด้านวุฒิการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แตกต่างกัน สำหรับสถานภาพด้านเพศ สถานภาพครอบครัว สถานภาพการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน และจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความดูแล มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ไม่แตกต่างกัน และการรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
The objectives this research were to study the internet café service providers’ in Bangkok knowledge and understanding computer crime act B.E. 2007. The sample was obtained through the 384 samples. Questionnaires were a research tool in order to collect data. Percentages, arithmetic mean, Standard Deviation, t-test, One-Way ANOVA, LSD analysis, and Pearson’s product moment correlation coefficient were employed to analyze the data. The data were analyzed by using application program. There were statistically significant related in the positive direction at .05 level in this research.
The result indicated that the internet café service providers’ knowledge and understanding computer crime act B.E. 2007 by overall is high level score. And age and education level were difference to the knowledge and understanding computer crime act B.E. 2007. For sex, status, working status, experience and computer responsible did not difference to the knowledge and understanding computer crime act B.E. 2007. And the perception of information was correlated to knowledge and understanding computer crime act B.E. 2007.