Thai Classical Music for Health Development

โดย สุภาสิรีร์ ปิยะพิพัฒน์ และมนศักดิ์ มหิงษ์

ปี 2551

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่อง ดนตรีไทยเพื่อการพัฒนาสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้รูปแบบกิจกรรมดนตรีไทยกับกลุ่มผู้เข้ารับการพัฒนาสุขภาพ และศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมก่อนและหลังของกลุ่มผู้เข้ารับการพัฒนาสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มวัยเด็กกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ จำนวน 75 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการฝึ กกิจกรรมดนตรีไทยจำนวน 16 ครั6 ง สัปดาห์ละ 1 ครั6ง / 60 นาที ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะการทดลอง และระยะหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ใหม่ ปี 2547 (54 ข้อ) (The New Thai Mental Health Indicator : TMHI – 54) และโปรแกรมกิจกรรมดนตรีไทย กลุ่มตัวอย่างได้รับ การทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test) และหลังการทดลอง (Post-test) ด้วยสถิติ t-test

ผลการวิจัยการเปรียบเทียบคะแนนสุขภาพจิตระหว่างระยะก่อนการทดลอง กับระยะหลังการทดลองของกลุ่มวัยเด็กวัยรุ่นและวัยผู้สูงอายุ พบว่า ระยะก่อนการทดลองของกลุ่มวัยผู้สูงอายุมีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่า กลุ่มวัยเด็ก และวัยรุ่น โดยถือว่าคะแนนสุขภาพจิตของทั้ง 3 กลุ่ม อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าคนทั่ว ไป (98 คะแนน หรือน้อยกว่า หมายถึง มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป) ส่วนระยะหลังการทดลอง กลุ่มวัยผู้สูงอายุ มีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มวัยเด็ก และวัยรุ่น โดยถือว่าคะแนนสุขภาพจิตของทั้ง 3 กลุ่ม อยู่ในเกณฑ์มากกว่าคนทั่วไป (118 -162 คะแนน หมายถึง มีสุขภาพจิตมากกว่าคนทั่วไป) จึงสามารถสรุปได้ว่า ดนตรีไทยสามารถช่วยฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพจิตใจของมนุษย์ให้ดีขึ้น

ดังนั้น คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของผู้เข้ารับการพัฒนาสุขภาพทั้งหมด จำนวน 75 คนมีคะแนนสุขภาพจิตในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

The aim of this research was to study the activities which appropriate to Health Development group and the comparative study the behavior before and after they are developed. The target groups are childhood, teenagers, and adults altogether 75 people. The target groups were attended Thai Classical Music activity with 16 times / once per week / 60 minutes per time. The methodology was divided into 3 periods; Pre-test, Demonstration, and Post-test. The research tool is The New Thai Mental Health Indicator: TMHI – 54 and Thai classical music activity program. The example group was demonstrated by Pre-test and Post-test with T-test.

The result of comparative between Pre-test and Post-test of childhood, teenagers, and adults found that the Pre-test of adults have the higher point in mental indicator than childhood and teenagers through the mental point of three target groups are lower mean in general people (98 points or less than mean there have lower mental indicator than general people). The post-test of adult group has the higher point than childhood and teenagers group through three group mental indicator are higher than general people (118-162 points mean general people point). So, it can summary that Thai Classical Music canrevive and mental develop.

The average point of mental indicator from the target groups altogether 75 people have the mental indicator point in Post-test higher than Pre-test as .05 level significance.

DOWNLOAD : ดนตรีไทยเพื่อการพัฒนาสขุภาพ