The Development of Blouse Styles from Twill Weave Morhom Fabric in Phrae Province
โดย เบญญาภา ข่วงทิพย์
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติทางการภาพและความคงทนของสีผ้าหม้อห้อมทอลายสอง 2) พัฒนารูปแบบเสื้อผ้าหม้อห้อมสตรีทอลายสอง 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักออกแบบเสื้อผ้า ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบเสื้อหม้อห้อมสตรีทอลายสองทั้ง 5 รูปแบบ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงามและด้านขั้นตอนการผลิต โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาความพึงพอใจ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบเสื้อผ้าหม้อห้อมสตรีทอลานสอง จำนวน 5 รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวANOVA (One-Way Analysis) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่มคือ นักออกแบบเสื้อผ้า 3 คน ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย 3 คน ผู้บริโภค 200 คน รวม 206 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การทดสอบสมบัติทางการภาพของผ้าหม้อห้อมทอลายสอง ทั้ง 2 สูตรการย้อมพบว่า ผ้าสูตรที่ 1 ย้อมด้วยสีห้อมธรรมชาติและสีอินดิโกสังเคราะห์ ในอัตราส่วน 50:50 มีน้ำหนัก ความหนา ความแข็งแรงของผ้าต่อแรงดึงขาด การเปลี่ยนแปลงขนาดและลักษณะหลัง การซักอยู่ในระดับดีกว่าผ้าสูตรที่ 2 ย้อมด้วยสีห้อมธรรมชาติ การทดสอบความคงทนของสีผ้า หม้อห้อมทั้ง 2 สูตร การย้อมต่อการซักล้างต่อน้ำ ต่อเหงื่อ ต่อการขัดถู และต่อแสงแดดเทียม อยู่ในระดับดีถึงดีมาก ส่วนผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างถึงรุปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบเสื้อผ้าหม้อห้อมสตรีทอลายสองทั้ง 5 รูปแบบ พบว่า ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงาม และด้านขั้นตอนการผลิตมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี
Download : การพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าหม้อห้อมสตรีทอลายสองของจังหวัดแพร่