The study on microstructure and mechanical properties of silver alloy 58.4 % for jewelry

โดย: ธนาธิป สะและหน่าย

ปี : 2554

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติของโลหะเงินเจือ 58.4% ที่มีธาตุทองแดง (Cu) และสังกะสี (Zn) เป็นธาตุเจือ ซึ่งมีปริมาณส่วนผสม 20.85-41.76% และ 0-20.83% ตามลำดับ โดยทำการ เปรียบเทียบกับสมบัติของโลหะเงินสเตอร์ลิง 925 จากการศึกษาพบว่า สมบัติทางกลของชิ้นทดสอบมี ค่าสูงกว่าโลหะเงินสเตอร์ลิง 925 โดยค่าความแข็ง ความต้านแรงดึง ความเค้นคราก และค่าความยืด ของชิ้นทดสอบมีค่าอยู่ระหว่าง 54.6-95.3 HV1, 209.5-379.3 MPa., 100.6-193.8 MPa. และ 32.1- 51.7% ตามลำดับ ในขณะที่โลหะเงินสเตอร์ลิง 925 มีค่าสมบัติทางกลเท่ากับ 52.8 HV1, 193.5MPa., 96.0 MPa. และ 29.8% ตามลำดับ

จากการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของชิ้นทดสอบ พบว่ามีลักษณะเป็นโครงสร้างเดน ไดรท์ แต่เมื่อปริมาณทองแดงเพิ่มขึ้น โครงสร้างเดนไดรท์มีปริมาณลดลง และเมื่อนำสังกะสีผสม ในชิ้นทดสอบ จะพบว่า ปริมาณสังกะสีที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้บริเวณที่เป็นเฟส sigma เปลี่ยนเป็นเฟส Eutectic และปริมาณของเฟส sigma มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้สมบัติทางกลต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับในส่วนการวัดระดับสีของชิ้นทดสอบ พบว่า ชิ้นทดสอบ 58.67%Ag 39.20%Cu 2.14%Zn มีค่าระดับสีใกล้เคียงกับโลหะเงินสเตอร์ลิง 925 มากที่สุด โดยมีค่าความแตกต่างของ delta a เพียง 0.236 และ delta b เพียง 5.268 นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อความเข้มข้นของทองแดงที่เพิ่มขึ้น มีผลทำ ให้ค่า a มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และค่า b มีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อปริมาณความเข้มข้นของสังกะสีเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้ผลที่ได้มีค่าตรงข้ามกัน

Download: การศึกษาโครงสร้างจุลภาคและคุณสมบัติทางกลของโลหะเงินเจือ 58.4% สำหรับการผลิตเครื่องประดับ