Mild steel reinforced effect to compressive strength at anchorage end in post-tension slab

โดย: รัตนพันธุ์ แจ่มแสง

ปี : 2553

บทคัดย่อ

โครงสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กทีหลังเป็นโครงสร้างที่มีความหนาน้อย จึงต้อง ออกแบบเหล็กเสริมบริเวณหัวสมอให้สามารถกระจายแรงไปสู่คอนกรีต งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษา ผลกระทบจากการเสริมเหล็กที่มีผลต่อกำลังรับแรงอัดที่หัวสมอ ในพื้นคอนกรีตอัดแรงโดยการ วิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ ในการสร้างแบบจำลองบริเวณสมอยึดและทดสอบจากตัวอย่าง คอนกรีตบริเวณสมอยึด ซึ่งทำการทดสอบจากรูปแบบการเสริมเหล็ก 5 รูปแบบ

จากผลการทดสอบทำให้ทราบถึงอัตราส่วนระหว่างกำลังของคอนกรีต (f
ci) ต่อแรงอัดที่สมอรับได้ Pj ดังนี้  Pj= 185.58 f ci+13765 เมื่อเสริมเหล็กแกนตั้งฉากแนวแรงอัดมีเหล็กปลอกทุกระยะ 20 เซนติเมตร, Pj = 204.49 fci +12220 เมื่อเหล็กแกนตั้งฉากแนวแรงอัดมีเหล็กปลอกทุกระยะ10 เซนติเมตร, Pj = 183.09 fci+12319  เมื่อเสริมเหล็กแกนขนานแนวแรงอัดมีเหล็กปลอกทุกระยะ 20 เซนติเมตร, Pj=203.78fci+10338 เมื่อเสริมเหล็กแกนขนานแนวแรงอัดมีเหล็กปลอกทุกระยะ 10 เซนติเมตร, และ Pj =184.87fci+8833.5 เมื่อไม่เสริมเหล็กบริเวณสมอยึด และเมื่อนำรูปแบบของรอยร้าวที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์เทียบกับผลการวิเคราะห์จากวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ จึงทำให้ทราบถึงรูปแบบการกระจายแรงบริเวณสมอยึดและสามารถกำหนดสมการสำหรับหาแรงอัดประลัยของมสมอยึดชนิดนี้ได้เป็น   P u = ( Ф t + ά/s + β e )  f c i

Download: การเสริมเหล็กบริเวณสมอยึดลวดอัดแรงที่มีผลต่อกำลังรับแรงอัดที่หัวสมอในพื้นคอนกรีตอัดแรง