Acceptance Tendencies of Foreign Tourists on Thai Food of 4 Regions and Thai Desserts
โดย ธนิตา ปิติวรรณ
ปี 2555
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการยอมรับอาหารไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่ออาหารไทย 4 ภาค และขนมไทย ด้านการรู้จัก ด้านความสนใจ และด้านความตั้งใจซื้ออาหารไทยทั้ง 4 ภาค และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กับแนวโน้มการยอมรับอาหารไทย 4 ภาค และขนมไทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย ได้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และสถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation)
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 25-34 มีสถานที่พำนักในประเทศแถบยุโรป มีคู่สมรสที่ไม่เป็นคนไทย ส่วนใหญ่มาเที่ยวประเทศไทยแล้ว 2 และมีระยะเวลาในการพำนักในประเทศไทยน้อยกว่า 1 สัปดาห์ ผลการทดสอบสมมติฐานสาหรับแนวโน้มการยอมรับอาหารภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า เพศ อายุ ประเทศที่พานักที่แตกต่างกันมีแนวโน้มการยอมรับอาหารไทย ไม่แตกต่างกัน แต่การมีคู่สมรสที่เป็นคนไทย จำนวนครั้งที่มาเที่ยวประเทศไทย ระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย มีผลต่อการยอมรับอาหารไทยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางพบว่าอายุ ประเทศที่พำนักที่แตกต่างกันมีแนวโน้มการยอมรับอาหารภาคกลางไม่แตกต่างกัน แต่เพศ การมีคู่สมรสเป็นคนไทย จำนวนครั้งที่มาประเทศไทย ระยะเวลาที่พานักในประเทศไทย มีผลต่อการยอมรับอาหารไทยภาคกลาง ภาคใต้พบว่าเพศที่แตกต่างกันมีแนวโน้มการยอมรับอาหารภาคใต้ไม่แตกต่างกัน แต่อายุ ประเทศที่พานัก การมีคู่สมรสเป็นคนไทย จำนวนครั้งที่มาประเทศไทย ระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทยมีผลต่อการยอมรับอาหารไทยภาคใต้ และขนมไทย
The independent study was carried out to investigate the acceptance tendencies of foreign tourists on Thai food of the 4 regions and Thai desserts in the aspects of recognition, interests and buying decision on Thai food of the 4 regions and Thai desserts, and to examine the relationship between the personal data of foreign tourists and the acceptance tendencies on Thai food of the 4 regions and Thai desserts.
The sample of the study comprised 400 foreign tourists, and the data were collected through the application of questionnaires. The statistics used for data analysis consisted of Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, and Pearson’s Product Moment Correlation.
The results of study revealed that the majority of the foreign tourists were male between 25-34 years old, had places of residence in Europe, got married with non-Thais, had two visits in Thailand, and stayed in Thailand less than one week. The results of hypothesis testing for the acceptance tendencies on Thai food of the northern and northeastern regions showed that different gender, age, places of residence had no differences in the acceptance tendencies on Thai foods, however, having Thai spouse, frequency of visiting, and duration of stay in Thailand affected the acceptance tendencies on Thai food of the northern and northeastern regions. Different age, places of residence made no differences in the acceptance tendencies on Thai food of the central region, but different gender, having Thai spouse, frequency of visiting, and duration of stay in Thailand affected the acceptance tendencies on Thai food of the central region. Different gender had no differences in the acceptance tendencies on Thai food of the southern region, nevertheless, age, places of residence, having Thai spouse, frequency of visiting, and duration of stay in Thailand affected the acceptance tendencies on Thai food of the southern region and Thai desserts.
Download : แนวโน้มการยอมรับอาหารไทย ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่ออาหารไทย 4 ภาค และขนมไทย