The Want of Peoples of Water Transportation in Klong-Rangsit: KJongl-KJong7

โดย ศุภกร ศิรพจนกุล, อมเรศ บกสุวรรณ และประชุม คำพุฒ

ปี 2550

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 5, ฉบับที่ 9 (ม.ค. – มิ.ย. 2550), หน้า 39-49

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของประชาชน ในการเดินทางโดยใช้เรือโดยสารในคลองรังสิต ระหว่างบริเวณตลาดรังสิต (คลอง 1 ถึง คลอง 7) โดนทำการออกสำรวจสอบถามความคิดเห็นตั้งแต่ เดือน มิ.ย. 2549 ถึงเดือน ส.ค. 2549 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ผู้ที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล และประชาชนทั่วไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นคนในวัยทำงานและนักศึกษา ซึ่งเดินทางโดยรถส่วนตัวและรถประจำทางในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และจากการวิเคราะห์โดยรวมพบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ต้องการให้มีการจัดการขนส่งทางเรือในคลองรังสิต เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับช่วยตัดสินใจในการเดินทาง ซึ่งควรมีการแบ่งการเดินทางออกเป็นอย่างน้อย 2 ช่วง และต้องมีระบบการจัดการขนถ่ายผู้ใช้บริการระหว่างชุมชนภายในแต่ละคลองซอยออกมาสู่ท่าเรือโดยสารอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรต้องมีการขยายเส้นทางเดินเรือไปจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อให้เชื่อมต่อกับการขนส่งทางเรือด่วนเจ้าพระยา ไปยังท่าน้ำจังหวัดนนทบุรีต่อไป

This research is purpose to study the people’s want for traveling by boats in Klong-Rangsit: from Klong1 to Klong 7. By using the questionnaire period from June-August 2006, we survey the opinion of the three groups of people such as public transportation users, private cars users and general people. From the results, it is found that the most people are in group of working people and students using the private cars and public transportation. Moreover 80% of the people want to have boat transportation in Klong-Rangsit for an alternative choice. The route should be divided into two parts and must have the mass transportation in each village for supporting the people to the pier with efficiency. In addition, the route should be extended in to mouth of Chaopraya River for linking with express boat of Chaopraya.

Download : ความต้องการของประชาชนในการสัญจรทางน้ำในคลองรังสิต : ช่วงคลอง 1- คลอง 7