Defect Reduction in Thermoforming Process of Tray Side 2.5 inches by Applying Design of Experiment (DOE) Technique

โดย ชาญณรงค์ อินทรชู และระพี กาญจนะ

ปี 2556

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการเกิดจีบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการขึ้นรูปด้วยความร้อน โดยใช้หลักทฤษฎีทางด้านงานขึ้นรูปด้วยความร้อนและเทคนิคการออกแบบการทดลองในการวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพขอผลิตภัณฑ์ ระเบียบวิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลให้เกิดของเสียมากที่สุดด้วยแผนภูมิก้างปลา ทำการคัดเลือกปัจจัยแล้วนำมาวิเคราะห์ผลกระทบอันเนื่องจากข้อบกพร่อง(Failure Mode and Effect Analysis; FMEA) เพื่อนำปัจจัยที่มีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ที่มีค่ามากว่า 100 มาทำการพิจารณาผลการวิเคราะห์ พบว่า มี 3 ปัจจัยหลัก จึงทำการออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยเหล่านั้น โดยใช้การออกแบบเชิงแฟคทอเรียล 2k (2k Factorial Design) เลือกการทดลองแบบ 2 ออกแบบให้ใช้ Full Factorial และทำซ้ำ 2 ครั้ง (Repeat) กำหนด Number of Blocks 1 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กำหนดค่าทั้ง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิให้ความร้อน (Heating Temperature) 190  และ 210 , ช่วงเวลาในการให้ความร้อน (Heating time) 22 Sec. และ 37 Sec. และช่วงเวลาในการให้สุญญากาศ (Vacuum time) 17 Sec. และ 27 Sec. ผลการทดลองพบว่า ระดับที่เหมาะสมที่สุด คือ อุณหภูมิให้ความร้อน 190 , ช่วงเวลาในการให้ความร้อน 22 Sec. และช่วงเวลาในการให้สุญญากาศ 17 Sec.  ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียลงจากเดิม 3.53% เหลือเพียง 0.93% ซึ่งบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้คือของเสียไม่เกิน 1%

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการเกิดจีบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการขึ้นรูปด้วยความร้อน โดยใช้หลักทฤษฎีทางด้านงานขึ้นรูปด้วยความร้อนและเทคนิคการออกแบบการทดลองในการวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพขอผลิตภัณฑ์ ระเบียบวิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลให้เกิดของเสียมากที่สุดด้วยแผนภูมิก้างปลา ทำการคัดเลือกปัจจัยแล้วนำมาวิเคราะห์ผลกระทบอันเนื่องจากข้อบกพร่อง(Failure Mode and Effect Analysis; FMEA) เพื่อนำปัจจัยที่มีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ที่มีค่ามากว่า 100 มาทำการพิจารณาผลการวิเคราะห์ พบว่า มี 3 ปัจจัยหลัก จึงทำการออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยเหล่านั้น โดยใช้การออกแบบเชิงแฟคทอเรียล 2k (2k Factorial Design) เลือกการทดลองแบบ 2 ออกแบบให้ใช้ Full Factorial และทำซ้ำ 2 ครั้ง (Repeat) กำหนด Number of Blocks 1 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กำหนดค่าทั้ง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิให้ความร้อน (Heating Temperature) 190  และ 210 , ช่วงเวลาในการให้ความร้อน (Heating time) 22 Sec. และ 37 Sec. และช่วงเวลาในการให้สุญญากาศ (Vacuum time) 17 Sec. และ 27 Sec. ผลการทดลองพบว่า ระดับที่เหมาะสมที่สุด คือ อุณหภูมิให้ความร้อน 190 , ช่วงเวลาในการให้ความร้อน 22 Sec. และช่วงเวลาในการให้สุญญากาศ 17 Sec.  ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียลงจากเดิม 3.53% เหลือเพียง 0.93% ซึ่งบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้คือของเสียไม่เกิน 1%

Download : การลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปด้วยความร้อนถาดบรรจุฮาร์ดดิสก์ 2.5”โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง