Water repellency finishing of paper from jackfruit sepal for handicraft
โดย จินตนา บมขุนทด
ปี 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมบัติทางกายภาพของซังขนุน ผลิตกระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำ ทดสอบสมบัติทางกายภาพของกระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำ และสำรวจความพึงพอใจของผู้ที่มีความรู้ด้านงานประดิษฐ์ที่มีต่อกระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำวิธีการวิจัยคือ ศึกษาสมบัติทางกายภาพของซังขนุนโดยการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัยและจากการส่องซังขนุนแห้งด้วยกล้องจุลทรรศน์ Microscope ภาพตัดขวาง และภาพตามยาว ประดิษฐ์กระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำทดสอบสมบัติทางกายภาพของกระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำ และสำรวจความพึงพอใจของผู้ที่มีความรู้ด้านงานประดิษฐ์ที่มีต่อกระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีความรู้ด้านงานประดิษฐ์ จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัดขวางและภาพตามยาวของซังขนุนมีลักษณะพื้นผิวที่เรียบ มัน มีใยอาหารร้อยละ1.8 การสะท้อนน้าของกระดาษซังขนุนอยู่ในระดับ 50 คือผิวกระดาษด้านหน้า รอบบริเวณที่ถูกน้าพ่นเปียกทั้งหมด ผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพของกระดาษซังขนุนสะท้อนน้ำพบว่า มีน้าหนัก 112.9 กรัมต่อตารางเมตร หนา 0.12 มิลลิเมตร ความแข็งแรงของกระดาษต่อแรงดึง 67.7 นิวตัน และความแข็งแรงของกระดาษต่อแรงฉีกขาด 138.2 นิวตัน และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ที่มีความรู้ด้านงานประดิษฐ์ต่อกระดาษซังขนุนสะท้อนน้าพบว่า มีความพึงพอใจการสะท้อนน้าอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.60) รองลงมาคือพึงพอใจด้านความสม่ำเสมอของผิวกระดาษ ( ค่าเฉลี่ย = 4.53) ความเหมาะสมของลวดลาย ( ค่าเฉลี่ย = 4.33) ความหนา ( ค่าเฉลี่ย = 4.20) ความประณีตและความเหมาะสมในการใช้งาน ( ค่าเฉลี่ย = 4.13) การใช้ในงานประดิษฐ์ เช่น กล่องอเนกประสงค์ ( ค่าเฉลี่ย = 4.07) ความเหนียว ( ค่าเฉลี่ย = 3.93) ความสะอาดไม่มีสิ่งสกปรกหรือเปรอะเปื้อน ( ค่าเฉลี่ย = 3.87) ความพึงพอใจโดยรวม ( ค่าเฉลี่ย = 3.80) และความสม่าเสมอ ( ค่าเฉลี่ย = 3.67)
Download : Water repellency finishing of paper from jackfruit sepal for handicraft