Mafahluang (Doitung) Office

โดย ภัทรา ภัทรพักตร์

ปี 2553

บทนำ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เชื่อว่าการก้าวหน้าเศรษฐกิจเป็นเพียงหนทางหนึ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมิได้เป็นเป้าหมายการพัฒนาในตนเอง เพราะการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนนั้น ยังต้องประกอบไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและความสุขทางสังคมด้วย

โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เล็งเห็นว่าความสมบูรณ์ทางธรรมชาติขึ้นอยู่กับความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่าจะไม่มีวันหมดไป หากความต้องการพื้นฐานของชุมชนยังไม่ได้รับการดูแล โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงได้พัฒนาหน่วยธุรกิจต่างๆ ขึ้น ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจเกษตร ธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจหัตถกรรม เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตให้กับคนในพื้นที่ในระยะยาว กล่าวได้ว่า โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ก้าวกระโดดจากเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติด สู่การพัฒนาทางเลือกที่หลากหลายในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการเสริมศักยภาพของชาวบ้านให้มีทักษะ ความคิด ความสามารถทางธุรกิจ สามารถรับมือและจัดการกับความก้าวหน้าและผันผวนของตลาดโลก ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่งได้

หน่วยธุรกิจต่างๆ ของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ มิได้เป็นธุรกิจแสวงหากำไรเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง การสร้างประโยชน์ต่อส่วนร่วม และการไม่ทำลายสภาพแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ชาวบ้านที่ดอยตุงได้รับการฝึกทักษะที่หลากหลายตั้งแต่การออกแบบสวนดอกไม้ ไปจนถึงการคั่วกาแฟ ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้ประกอบธุรกิจของตนเอง เพราะอีกไม่ถึง 10 ปี ชุมชนบนดอยตุง ต้องรับผิดชอบดูแลธุรกิจและกิจการต่างๆ ที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ช่วยริเริ่มสร้างไว้ให้ก้าวหน้าต่อไป

Download : โครงการออกแบบเสนอแนะสถาปัตยกรมภายในอาคารสำนักงานมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง (โครงการพัฒนาดอยตุง)