Plant Design for Safety and User Friendly: Limitation Effects Approach

โดย ฉัตรชัย กันยาวุธ

ปี 2545

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2545), หน้า 17-26

บทนำ

นับตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันอุบัติภัยที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีพบว่ามีสาเหตุหลักมาจากการทำงาน หรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดของพนักงานควบคุมการผลิต พนักงานซ่อมบำรุง รวมไปถึงการวิบัติของอุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการผลิต ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติภัยในกระบวนการผลิตจึงมักจะมุ่งไปที่การหาวิธีการลดความผิดพลาดจากสาเหตุดังกล่าว ซึ่งพบว่าการทำเช่นนี้ส่งผลให้การควบคุมการผลิตและการซ่อมบำรุงมีความซับซ้อนมากขึ้นและไม่มีสิ่งใดสามารถรับรองได้ว่าพนักงานเหล่านี้จะไม่ทำงานผิดพลาดอีกตลอดการทำงานทั้งวัน รวมถึงการทำงานในแต่ละวัน การคาดหวังว่าพนักงานจะไม่ทำงานผิดพลาดก็เปรียบเสมือนการที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานกำลังเล่นเก้าอี้ดนตรี โดยที่ไม่มีสิ่งใดที่จะให้ความมั่นใจได้ว่า ผู้เล่นสามารถจะครอบครองเก้าอี้ได้ตลอดกาล โดยความเป็นจริงแล้วกระบวนการผลิตสามารถที่จะถูกปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีความปลอดภัยสูงขึ้นในภายหลังได้ แต่ทั้งนี้ควรจะเป็นการดำเนินการโดยวิศวกรหรือหน่วยงานที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการออกกระบวนการผลิตเท่านั้น ไม่ควรปล่อยให้การปรับปรุงกระบวนการผลิตเป็นหน้าที่โดยตรงของพนักงานงานควบคุมการผลิตหรือพนักงานซ่อมบำรุง วิศวกรหรือหน่วยงานที่ทำการออกแบบโรงงานและกระบวนการผลิตควรจะใช้หลักการหรือแนวทางที่จะออกแบบให้โรงงานมีกระบวนการผลิตและมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการปฏิบัติงานของพนักงานควบคุมการผลิตและพนักงานซ่อมบำรุง การออกแบบโรงงานมีคุณลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้กระบวนการผลิตสามารถทนต่อสภาวะการผลิตที่ไม่ผิดปกติมากได้ในระดับที่มีผลกระทบไม่มากต่อความปลอดภัย ประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกรณีที่พนักงานควบคุมการผลิตทำงานผิดพลาด

การออกแบบโรงงานและกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัยและมีความง่ายในการปฏิบัติงานและควบคุมการผลิตมีหลายแนวทางและมีรายละเอียดมาก ดังนั้นบทความนี้จะเน้นเฉพาะหลักการออกแบบโรงงานและกระบวนการผลิตโดยใช้แนวทางการลดและจำกัดผลกระทบที่มีผลต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการควบคุมการผลิต

Download : การออกแบบโรงงานเพื่อความปลอดภัยและมีความง่ายต่อการปฏิบัติงาน