By มานิดา จำปาหอม, สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.648-652

 

Abstract

แม้จะเป็นที่ยอมรับกันดีว่าฟิล์มบริโภคได้ซึ่งเตรียมจากพอลิเมอร์ชีวภาพมีสมบัติบางประการที่น่าสนใจ แต่ฟิล์มบริโภคได้มีสมบัติทางกลด้อยกว่าฟิล์มที่เตรียมจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด งานวิจัยนี้จึงมุ่งปรับปรุงสมบัติทางกลของฟิล์มบริโภคได้โดยเลือกศึกษาฟิล์มที่เตรียมจากไคโตซาน ทั้งนี้ศึกษาจากผลของกระบวนการทางกายภาพบางกระบวนการที่อาจนำมาใช้ร่วมกับขั้นตอนการเตรียมสารละลายก่อเกิดฟิล์มได้แก่การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเชื่อมโยงข้ามของสายโซ่ไคโตซานด้วยความร้อน นอกจากนี้ยังศึกษากระบวนการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันของสารละลายไคโตซานและพลาสติไซเซอร์ (กลีเซอรอล) แบบต่างๆ ได้แก่ การผสมที่ความเร็วรอบสูง 9600 รอบต่อนาทีที่ความดันบรรยากาศและการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยใช้ความดันสูงแบบ 2 ขั้นที่ความดันเกจ 10/5 MPa, 20/5 MPa และ 30/5 MPa หลังจากเตรียมสารละลายก่อเกิดฟิล์มแล้วนำสารละลายดังกล่าวไปอบแห้งด้วยลมร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสจากนั้นทดสอบสมบัติทางกลของฟิล์มที่ได้เทอมของค่าเปอร์เซ็นต์การยืดและค่าความแข็งแรงดึงจากผลการทดลองพบว่ากระบวนการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยใช้ความดันสูงแบบ 2 ขั้นทำให้ค่าเปอร์เซ็นต์การยืดของฟิล์มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Download: การปรับปรุงคุณสมบัติทางกลของฟิล์มบริโภคได้จากไคโตซานโดยวิธีการทางกายภาพ