Impact of lifestyle behavior on work efficiency of working age group in Bangkok area

โดย ลลิตา พูลทอง และ ปัทมา เจริญพร

ปี 2556

บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 216-228

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษากลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t – test, One – way ANOVA และ Pearson Product Moment Correlation Coefficient

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 23 – 32 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว การทดสอบเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อกลุ่มวัยทำงานกับ ประสิทธิภาพการทำงานกลุ่มวัยทำงานพบว่า เพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานแตกต่างกัน พบว่า เพศชาย มีประสิทธิภาพมากกว่าเพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาเอก มีประสิทธิภาพสูงกว่าระดับการศึกษาในระดับรองลงมา ส่วนอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานไม่แตกต่างกัน

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัยทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานพบว่า พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัยทำงานได้แก่ ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการพักผ่อนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงาน ด้านความถูกต้องในการทำงาน ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงาน ด้านการทำงานให้สำเร็จตามเวลาอยู่ในระดับปานกลาง

The purpose of the study was to investigate the impact of the lifestyle behavior on work efficiency of the working age group in Bangkok area. The study way comprised of 400 samples drawn from the people of working age group in Bangkok Area. The questionnaire was applied as the data collection instrument. The statistics used consisted of Percentage, Means, Standard Deviation, Independent Samples t – test, One – way ANOVA, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient.

The results of study revealed that the majority of the respondents were female, aged between 23 – 32 years old, graduated with Bachelor’s degree, earned a monthly income of 10,001 – 20,000 Baht, and owned private business. The comparison of the lifestyle behavior that affected the working age group with the work efficiency indicated that different gender and level of education made differences in the work efficiency of the working age group. It was found that males were efficient at work than females, the respondents earning doctoral degree are more efficient at work than those who had lower level of education. However, different age caused no differences in the work efficiency of the working age group.

The study on the relationship between the lifestyle behavior of the working age group with their work efficiency demonstrated that the lifestyle behavior on eating, exercising, and relaxing had a positive relationship with the work efficiency of the working age group in the aspects of accuracy of work, achievement at work, success at work, and punctuality at work at a moderate level.

 

Download : ผลกระทบของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร