Learning innovation center model for innovation demonstration school of Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย วิภาดา นามบ้าน
ปี 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมะสมของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อประเมินรูปแบบ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหาร ครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 7 คน ดำเนินการวิจัยโดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ประเมินรูปแบบ จำนวน 5 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบศูนย์นวัตกรรม การเรียนรู้ฯ 2) แบบประเมินรูปแบบศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ฯ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ควรมีลักษณะรูปแบบให้บริการนักเรียน จัดการพื้นที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีองค์ประกอบครอบคลุม ผู้เรียน (Learner) กลุ่มสาระการเรียนรู้ (Object) เทคโนโลยี (Technology) ประสบการณ์ของผู้เรียน (Universe) และการเรียนรู้ร่วมกัน (Social) 2) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อรูปแบบศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ฯ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ได้แก่ องค์ประกอบด้านนวัตกรรม วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอน การพัฒนานวัตกรรม
The purpose of this study aims to 1) to develop the model of Learning Innovation Center for Innovation Demonstration School of Rajamangala University of Technology Thanyaburi 2) to evaluate the model of Learning Innovation Center of Innovation Demonstration School of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. This study was a survey research based on focus group and purposive, the population was the officers from Innovation Demonstration School of Rajamangala University of Technology Thanyaburi consisting of; 1) 7 people; administration officers, teachers and professionals in education technology and communications that survey by focus group, 2) 5 people; honor professional in education technology and communications that survey by purposive sampling. The research tools were 1) model of the Center of Innovation Demonstration School, 2) evaluated from 5 rating scale, the statistics tools were average, standard deviation, and content analysis.The result found that (1) The model of Learning Innovation Center of the Innovation Demonstration School of Rajamangala University of Technology Thanyaburi should have model to serve to students, managing space for self-learning; covered by learners, objects, technologies, student experiences (universe), and learning together (social) 2) high level of innovative element, development innovation objectives and method to development of the opinion of honor professionals.