Relationship between Quality of Work Life and Organizational Commitment: Case Study of Academic Support Staff of Thammasat University Hospital
โดย อริศา ฤทธิ์จรูญ
ปี 2559
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 236 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือIndependent Sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมระดับปานกลางและมีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประเภทบุคลากรที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this study were to investigate 1) personal factors affecting the quality of work life, and organizational commitment of academic support staff working at Thammasat University Hospital, 2) the level of quality of work life and organizational commitment of academic support staff working at Thammasat University Hospital, and 3) relationship between the quality of work life and organizational commitment of academic support staff working at Thammasat University Hospital. The samples of the study consisted of 236 academic support staff working at Thammasat University Hospital. The research instrument was a questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Statistics used to analyze the hypothesis included Independent Sample t-test, One-way ANOVA, and Pearson’s correlation coefficient at the statistical significant level of 0.05. The findings revealed that the quality of work life of the respondents was at a moderate level and the organizational commitment was at a high level. The results of the hypothesis testing showed that the personal factors in different levels of education, monthly income, and personnel type affected the different quality of work life. In addition, the personal factors in different levels of education and monthly income affected the different organizational commitment. It was also found that the quality of work life was related to the organizational commitment positively at the 0.05 level of significance.