The develop of a training package based on the concept of active learning under the health management program classified by Age Group for village health volunteers (VHVs)
โดย สุชาดา เทศดี
ปี 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ความสามารถและสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข และ 3) หาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข ต่อชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 27 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 82.52/80.00 ผลสัมฤทธิ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมเท่ากับ 22.85 และมีค่า S.D. เท่ากับ 2.09 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมเท่ากับ 26.26 มีค่า S.D. เท่ากับ 1.97 มีค่า t-test ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรมเท่ากับ 8.61 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และมีค่า S.D. เท่ากับ 0.06 อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were to 1) develop the training package based on the concept of active learning under the health management program classified by age group for effective health volunteers, 2) compare achievement and performance test of the health volunteers’ pretest and posttest scores which resulted from the training package, and 3) find out volunteers’ satisfaction towards the training package based on the concept of active learning under the health management program classified by age group. The research samples were 27 health volunteers in Bang Prok, Muang Pathumthani selected by purposive random sampling. Research instruments were the training package based on the concept of active learning under the health management program classified by age group for health volunteers, a pretest and a posttest, and a satisfaction questionnaire. Percentage, mean, standard deviation, and t-test for dependence samples were used for data analysis. The findings revealed that the training package based on the concept of active learning under the health management program classified by age group for effective health volunteers had the average standard criteria at 82.52/80.00. The health volunteers’ posttest was higher than the pretest at 22.85 in average and the S.D. was at 2.09. The average score of the posttest was at 26.26 and S.D was at 1.97. The t-test for dependence samples between pretest and posttest was at 8.61 which showed statistically significant difference at 0.05. The health volunteers’ satisfaction showed the highest level of mean score at 4.87 and S.D. at 0.06.