The development of augmented reality manual on the use of body fat measurement tools for first year students in public health of faculty of physical education, Srinakharinwirot university

โดย สุพจน์ พ่วงศิริ

ปี 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือความจริงเสริม เรื่อง การใช้เครื่องวัดปริมาณไขมันในร่างกาย สำหรับนิสิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคู่มือความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย ด้วยวิธีจับสลากเลือกตัวแทน ได้แก่ แขนงวิชาสาธารณสุขชุมชน แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม แขนงวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือความจริงเสริม เรื่อง การใช้เครื่องวัดปริมาณไขมันในร่างกาย แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า คู่มือความจริงเสริม เรื่อง การใช้เครื่องวัดปริมาณไขมันในร่างกายมีคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 81/82 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.10 มีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 18.37 การวิเคราะห์ t-test ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อคู่มือความจริงเสริม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47

This research aimed to 1) develop augmented reality manual on the use of body fatmeasurement tools for first year students in Public Health Disciplines of Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University, 2) compare pre-test and post-test academic achievement, 3) study the students’ satisfaction towards the augmented reality manual. The sample of this study includes 30 students at first year undergraduate level in Public Health, Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University. They were derived by simplerandom sampling (lottery method) with agents from different fields namely Community Public Health, Environmental Health, and Occupational Health and Safety. The research tools consist of augmented reality manual, quality evaluation guide towards media and contents, achievement tests, and evaluation forms of students’ satisfaction. The statistics used to analyze the data were standard deviation, and dependent sample t-test. It was found that augmented reality manual on the use of body fat measurement tools had quality of media at very good level with an average of 4.92, quality of contents at very good level with an average of 4.78, and had efficiency criterion of 81/82. The average score of pre-test was 12.10, while that of post-test was 18.37. The analysis of t-test during and after learning was different at 0.05 statistically significant level. The students were satisfied with augmented reality manual at a high level of 4.47.

DownloadThe development of augmented reality manual on the use of body fat measurement tools for first year students in public health of faculty of physical education, Srinakharinwirot university