The Production of Adventurous Tourism Documentary Using the Techniques of Stop Motion, 3D Motion Graphic, Jump Cut, Split Screen and Long Take to Convey the Meanings
จัดทำโดย อัญชลี หาราวี, ธิติวุฒิ แซะจอหอ, วีรวุฒิ อ่ำปฐม, ศิวะพร จำเริญรักษา และ ณัฐพงศ์ พิทักษ์กุล
สาขา เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของปริญญานิพนธ์นี้คือศึกษาการใช้เทคนิค STOP MOTION, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT, SPLIT SCREEN และ LONG TAKE ในการถ่ายทอดความหมายของความสมจริงในรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงผจญภัย “ตะลุยเดี่ยวเที่ยวไทย”
วิธีการศึกษาทำโดยการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์มีความยาว 14 นาที โดยใช้กล้อง Canon Eos 60D การตัดต่อใช้โปรแกรม Adobe Audition CS6 แล้วบันทึกลงในแผ่น DVD การประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การประเมินผลเชิงปริมาณ โดยการทำแบบสอบถามหลังแสดงผลงานให้กลุ่มผู้รับสาร 100 คน ชมและการประเมินผลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และนำผลการประเมินมาสรุปเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาสรุปว่า การใช้เทคนิค STOP MOTION, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT, SPLIT SCREEN และ LONG TAKE ในรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงผจญภัยเรื่องนี้ สามารถถ่ายทอดความจริงได้ตามที่ตั้งสมมติฐานไว้ในระดับน่าพอใจ
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
การผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงผจญภัยโดยใช้เทคนิค Stop Motion, 3D Motion Graphic, Jump Cut, Split Screen และ Long Take นี้ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า การใช้เทคนิคดังกล่าวเหล่านี้ล้วนเป็นเทคนิคที่ให้ผลพิเศษทางภาพที่ไม่สมจริง เป็นเทคนิคพิเศษเพื่อความสนุกสนานในการรับชม ซึ่งในการนำเสนอภาพที่ไม่สมจริงนี้ขัดแย้งกับคำนิยามของความเป็นสารคดีที่กล่าวไว้ว่า สารคดีต้องนำเสนอแต่เรื่องจริง ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ต้องการศึกษาว่า สารคดีที่ใช้เทคนิคดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถสื่อความหมายของความเป็นจริงตามนิยามของสารคดีได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
ขอบเขตการศึกษา
ผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยว ด้วยเทคนิค Stop Motion, 3D Motion Graphic, Jump Cut, Split Screen และ Long Take ในการสื่อความหมาย โดยมีรูปแบบการดำเนินรายการสารคดีแบบ ผจญภัย โดยใช้ชื่อรายการว่า “ตะลุยเดี่ยวเที่ยวเมืองไทย” ตอน “เขาใหญ่” ความยาวประมาณ 14 นาที ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon 60D บันทึกภาพลง Memory Card พร้อมบันทึกเสียงด้วย ไมโครโฟนประเภทไร้สาย ในส่วนขั้นตอน Production จะใช้เทคนิค Long Take ในการถ่ายทำ และขั้นตอน Post Production จะใช้เทคนิค Stop Motion, 3D Motion Graphic, Jump Cut และ Split Screen โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อภาพและเสียงคือ Adobe Premiere Pro CS6 และ Adobe After Effects CS6
กลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้ชมอายุตั้งแต่ 18-35 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เหมาะสำหรับการออกไปท่องเที่ยว ผจญภัย และกลุ่มเป้าหมายรองคือบุคคลทั่วไป ซึ่งผู้ชมที่ได้ดูรายการแล้วเกิดความอยากที่จะไปท่องเที่ยวเชิงผจญภัยอยู่หรือไม่
สำหรับประเมินผลงานสารคดีท่องเที่ยวที่จัดทำขึ้น โดยแบ่งกลุ่มประเมินออกเป็น 2 วิธี คือ 1) ประเมินผลเชิงปริมาณ เป็นกลุ่มตัวแทนผู้รับสารต่างมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวแทนผู้รับสาร ที่เป็นนักท่องเที่ยวที่เขาใหญ่ รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 100 คน โดยการตอบแบบสอบถามข้อคำถาม ที่กำหนดให้เกี่ยวกับรายการสารคดีที่จัดทำขึ้น 2) ประเมินผลเชิงคุณภาพ เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านเทคนิค แบบเจาะจง ด้วยข้อคำถามเฉพาะด้าน จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค STOP MOTION, LONG TAKE 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค SPILT SCREEN, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านรายการสารคดี 1 คน จากนั้นนำผลจากแบบสอบถามนำมาแปรความ พร้อมกับวิเคราะห์ร่วมกับแนวทฤษฎีที่ได้ใช้ในการศึกษาและสรุปผลการศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- สามารถใช้เทคนิค Stop Motion, 3D Motion Graphic, Jump Cut, Split Screen และ Long Take ในการสื่อความหมายของความเป็นจริงในการผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยว แนวผจญภัยได้
- สามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาเรื่องของการใช้เทคนิค Stop Motion, 3D Motion Graphic, Jump Cut, Split Screen และ Long Take ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอื่นต่อไป
อภิปรายผลจากการประเมินเชิงปริมาณ
การตอบแบบสอบถามของตัวแทนผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย
การประเมินผลความเห็นและความเข้าใจในรายการสารคดีท่องเที่ยวท่องเที่ยวเชิงผจญภัย โดยใช้เทคนิคSTOP MOTION, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT, SPLIT SCREEN และ LONG TAKE เพื่อการสื่อความหมาย จากตัวแทนผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย 100 คน สามารถสรุปได้ ดังนี้
เทคนิค 3D MOTION GRAPHIC
สารคดีเป็นการนำเสนอความจริงแต่เมื่อใช้เทคนิคภาพ 3 มิติ เรื่องที่นำเสนอนั้นยังมีความเป็นจริงอยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้รับสารมีความเข้าใจว่าเมื่อนำเทคนิค ภาพ 3 มิติ มาใส่ในรายการสารคดี เรื่องที่นำเสนอยังมีความเป็นจริงอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ คมสันต์ รัตนะสิมากูล (2555 : 173) ที่กล่าวว่า การนำเสนอความจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งอาศัยรูปแบบการสื่อสารต่างๆมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ
การใช้เทคนิค ภาพ 3 มิติในฉากที่เป็นแผนที่บอกการเดินทาง ผู้ชมคิดว่าช่วยเสริมความเข้าใจว่ามี ความสมจริงอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด หมายถึง ผู้ชมมีความเข้าใจในฉากที่เป็นแผนที่บอกการเดินทางภาพ 3 มิติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม (2547 : 1-2) ได้กล่าวไว้ว่า กราฟิก คือ งานที่มุ่งแสดงความจริง หรือ ความคิดเห็นให้เกิดความชัดเจน โดยวิธีการวาดรูปและเขียนตัวอักษร
เทคนิค JUMP CUT
การใช้เทคนิคการตัดตอนแบบก้าวกระโดดในฉากระหว่างเดินทางที่ทุ่งเขาแหลมเพื่อตัดตอนบางส่วนผู้ชมยังรู้สึกมากน้อยเพียงใดว่าเป็นการเดินทางที่ใช้ระยะเวลายาวนาน อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้ชมยังรู้สึกว่า การเดินทางนั้นมีระยะเวลาการเดินทางยาวนาน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ บรรจง โกศัลวัฒน์ (2520 : 89) ได้กล่าวไว้ว่า ภาพกระโดดเป็นผลจากการตัดภาพจำนวนหนึ่งออกจากฉากที่ถ่ายทำไว้ทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอนั้นสะดุด
การใช้เทคนิคการตัดตอนภาพแบบก้าวกระโดดในงานสารคดีมีความเหมาะสมกับรายการสารคดี ท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้ชมมีความคิดเห็นว่าการใช้เทคนิคการตัดตอนภาพแบบก้าวกระโดดมีความเหมาะสมกับรายการสารคดีท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ www.oknation.net, Website, 2016 กล่าวถึง Jump Cut ไว้ว่า Jump Cut สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทำให้เกิดความสมจริง
เทคนิค LONG TAKE
การใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องโดยไม่ตัดภาพ ต้องมีการวางแผนก่อนการถ่ายทำแต่การถ่ายทำสารคดีเรื่อง “ตะลุยเดี่ยวเที่ยวไทย” ไม่มีการวางแผนก่อนการถ่ายทำเมื่อคุณผู้ชมรับชมแล้ว ยังรู้สึกถึงความต่อเนื่องและสมบูรณ์ อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้ชมยังรู้สึกถึงความต่อเนื่องและสมบูรณ์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับทฤษฎีของ คะนึง คำแก้ว อ้างถึงใน อัมพิกา กอบกาญจน์ (2556 : 52) ได้กล่าวไว้ว่า การถ่าย LONG TAKE คือ การถ่ายเทคเดียวจบ ไม่มีการตัดต่อระหว่างซีน ทุกอย่างต้องวางแผนมาอย่างดี
เทคนิค SPLIT SCREEN
การแบ่งภาพเป็น 2 จอ โดยจอด้านหนึ่งเป็นภาพแผนที่ 3 มิติ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นภาพจริง ของการเดินทาง ผู้ชมยังรู้สึกว่ารถยนต์ในซีกขวากำลังเดินทางตามแผนที่ทางซีกซ้ายมากน้อยเพียงใด อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้ชมรู้สึกว่ารถยนต์ในซีกขวากำลังเดินทางตามแผนที่ในซีกซ้าย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ Wikipedia, Website, 2010 ได้กล่าวไว้ว่า SPILT SCREEN สามมารถทำได้โดยการวางกล้องในพื้นที่ที่ง่ายต่อการตัดและแนบด้านอื่นๆ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาแต่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน จะต่างสถานที่กันก็ได้
เทคนิค STOP MOTION
ฉากพระอาทิตย์ขึ้น ใช้เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งมาเรียงต่อเนื่องกันเพื่อย่นระยะเวลา ผู้ชมยังรู้สึกเหมือนเวลาไปไวได้มากน้อยเพียงใด อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้ชมรู้สึกได้มากว่าเวลาผ่านไปไว ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ www.kaddk.blogsport.com,Website, 2016 กล่าวถึง Stop Motion ไว้ว่า Stop Motion คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการถ่ายภาพนิ่งหลายๆภาพด้วยความเร็วสูง ใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูปที่ค่อยๆขยับๆ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด
ใช้เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งมาเรียงต่อกันในรายการสารคดียังคงเป็นความจริงมากน้อยเพียงใด อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งที่นำมาเรียงต่อกันในรายการสารคดีนั้นยังคงมีความเป็นจริงอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ กฤษฎา บุญขัย (2533 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า Stop Motion เป็นเทคนิคที่ใช้ในการ สร้างภาพให้คล้ายของจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือไม่ก็นอกจากการสร้างเพื่อความสวยงามที่มีคุณค่าทางศิลปะ
อภิปรายผลจากการประเมินเชิงคุณภาพ
การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านสารคดี
คุณกษาปณ์ ปัทมสูต ได้แสดงความคิดเห็นว่า สารคดียังความจริงเป็นอยู่มาก เพราะสารคดี คือ ความเป็นจริง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ ธีรภาพ โลหิตกุล (2544 : 152) กล่าวไว้ว่า สารคดี คือ การนำเสนอความจริงอย่างสร้างสรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงแต่เป็นความบันเทิงที่ได้สาระ ผู้ชมต้องการดูสิ่งที่ผู้กำกับและคนเขียนบทต้องการเล่าเรื่อง และนำเทคนิคมาช่วยเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น หรือให้ความรู้สึกมากขึ้นเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง เช่น 3D MOTION GRAPHIC ไม่ทำให้ข้อมูลบิดเบือน เพราะถ้าใช้ 3D MOTION GRAPHIC กับภาพจริง เราจะได้เห็นความแตกต่างระหว่างภาพจริงกับภาพกราฟิก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ สุภชัย ชนะไชยะสกุล (2459 : 12) กล่าวไว้ว่า 3D MOTION GRAPHIC คือ การเคลื่อนไหวของชิ้นงานจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง แต่รายการ “ตะลุยเดี่ยวเที่ยวไทย” ไม่ได้ใช้ 3D MOTION GRAPHIC ทั้งหมด สารคดีก็ยังคงความเป็นจริงอยู่ ส่วน LONG TAKE ก็ยังคงความเป็นจริงอยู่ เพราะ การถ่าย LONG TAKE จะให้ภาพที่สมจริง เพราะเป็นการถ่ายยาวโดยไม่มีการคัท ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ คะนึง คำแก้ว อ้างถึงใน อัมพิกา กอบกาญจน์ ได้กล่าวไว้ว่า LONG TAKE คือ การถ่ายเทคเดียวจบ ไม่มีการตัดต่อหรือคัทในระหว่างซีน แต่การถ่าย LONG TAKE โดยการเดินตามหลังพิธีกรอย่างเดียวทำให้รายการดูน่าเบื่อ ควรรับด้านหน้าหรือรับด้านข้างบ้าง ส่วน JUMP CUT ควร JUMP ให้เร็วกว่านี้ เช่น ที่ละ 20 ถึง 30 ก้าวแต่ก็ยังทำให้เกิดความรู้สึกสมจริงอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ www.oknation.net, Website, 2016 ได้กล่าวไว้ว่า JUMP CUT สามารถใช้เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกสมจริงหรือสร้างสไตล์หรือรูปแบบเฉพาะให้กับรายการ และในบางช่วงของรายการมีการเล่าเรื่องไม่ตรงกับภาพ
การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค LONG TAKE, STOP MOTION
คุณจักรกฤษณ์ นาคประเสริฐ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า เมื่อนำเทคนิค LONG TAKE, STOP MOTION สารคดียังคงความเป็นจริงอยู่ แต่เมื่อนำเทคนิคมาใส่ต้องเข้ากับเนื้อหารายการ เทคนิค STOP MOTION เมื่อนำมาทำเป็น TIME LAPSE ก็สร้างความเหมาะสมให้กับรายการได้ดี ภาพมีความสวยงาม ช่วยให้งานไม่น่าเบื่อ ซึ่งสอดคลองกับแนวคิดทฤษฎี ของ กฤษฎา บุญชัย (2533 : 24) กล่าวไว้ว่า เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างภาพให้คล้ายของจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือ สร้างเพื่อความสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ ส่วนเทคนิค LONG TAKE ในงานสารคดี ให้ความรู้สึกสมจริง เพราะไม่มีการคัทในระหว่างซีน เมื่อนำมาใส่ต้องรู้ถึงจังหวะของภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ คนึง คำแก้ว อ้างถึงใน อัมพิกา กอบกาญจน์ (2556 : 52) กล่าวไว้ว่า ความหมายของการถ่าย LONG TAKE คือ การถ่ายเทคเดียวจบ ไม่มีการถ่ายเทค2 เทค3 LONG TAKE ใน 1 ช็อต 1 ซีน จะถ่ายยาวตลอดไม่มีการตัดต่อหรือสั่งคัทระหว่างซีน
การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้าน SPLIT SCREEN, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT
คุณชัยวัฒน์ ฐิติเวศน์ ได้แสดงความเห็นไว้ว่า นำเทคนิคมาใส่ในรายการได้แต่ต้องเข้ากับเนื้อหาของรายการ ส่วนเทคนิค SPLIT SCREEN โดยส่วนตัวคิดว่าการแบ่งจอภาพเป็น 2 ข้างก็ช่วยสะท้อนให้เห็นความ แตกต่าง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ www.e-learning.com, Website, 2016 ได้กล่าวไว้ว่า SPLIT SCREEN คือ การแบ่งกรอบภาพออกเป็นส่วนๆ เพื่อบันทึกภาพหลายๆภาพลงบนกรอบภาพเดียวกัน ไม่ว่าภาพนั้นจะเหมือนหรือต่างกัน ในความคิดคิดว่า ถ้ามี 3D MOTION GRAPHIC อย่างเดียวจะเข้าใจง่ายและดูเหมาะสมมากกว่า ส่วน 3D MOTION GRAPHIC ดูเหมาะสมและสร้างจุดสนใจ ดูแปลกใหม่ ควรที่จะมีในรายการสารคดีเพราะจะทำให้รายการดูน่าสนใจและสามารถอธิบายเส้นทางได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ www.tong.tum.com/production.html, Website, 2016 ได้กล่าวไว้ว่า การถ่ายโมชั่นกราฟิก คือ การผสมผสานกันระหว่างดีไซน์ กับ ภาพเคลื่อนไหว ก่อให้เกิดเป็นตัวงานที่น่าสนใจขึ้นมาเพื่อให้งานออกมาสะดุดตาและให้งานออกมาน่าสนใจมากขึ้น และเทคนิค JUMP CUT ภาพรวมถือว่าเหมาะสมดี ทำให้สารคดีออกมาสมบูรณ์และน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ www.oknotion.net, Website, 2016 ได้กล่าวถึง Jump Cut ว่า Jump Cut ทำให้เกิดความรู้สึกสมจริงและเพื่อสร้างสรรค์สไตล์หรือรูปแบบเฉพาะตัวเข้ากับงาน
สรุปผลการศึกษา
จากการสามารถสรุปผลการศึกษาจากตัวแทนกลุ่มผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายและผู้เชี่ยวชาญ ได้ว่าการใช้เทคนิค STOP MOTION, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT, SPLIT SCREEN และ LONG TAKE ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้ภาพดูไม่เป็นธรรมชาติขัดกับความเป็นจริงมานำเสนอในรายการสารคดีที่เป็นเรื่องจริง ยังคงทำให้ผู้รับสารเข้าใจและรู้สึกได้ว่า สารคดีนี้เป็นเรื่องจริง
อภิปรายผลการศึกษา
จากการศึกษาสามารถอภิปรายผลการศึกษาการจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงผจญภัยโดยใช้เทคนิค STOP MOTION, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT, SPLIT SCREEN และ LONG TAKE ในการสื่อความหมาย เป็นการใช้เทคนิคที่ทำให้ภาพดูขัดกับความเป็นจริงแต่ยังคงสามารถสื่อความหมายของความเป็นจริงในรายการสารคดีได้ เพราะเป็นภาพจริง สถานที่จริง ที่มีอยู่จริง ไม่ได้ตัดต่อภาพเอง ต่อให้ใช้เทคนิคอื่นๆ ก็ยังคงให้ความรู้สึกถึงความเป็นจริง แต่ยังคงเล่าเรื่องและให้ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องจริงตามที่คาดไว้
ข้อเสนอแนะ
สารคดีเรื่อง “ตะลุยเดียวเที่ยวไทย” มีหลายเทคนิค เช่น STOP MOTION, 3D MOTION GRAPHIC, JUMP CUT, SPLIT SCREEN และ LONG TAKE เพื่อการสื่อความหมาย จากคำตอบ 100 คน ผู้รับชมผลงานจำนวนมากที่สุดตอบว่าพึงพอใจ อยู่ในเกณฑ์มาก แต่ไม่ถึงเกณฑ์มากที่สุด มีบางเทคนิคผู้ชมผลงานตอบว่าอยู่ในเกณฑ์มาก แต่ไม่ถึงเกณฑ์มากที่สุด สาเหตุมาจากเทคนิค SPLIT SCREEN โดยส่วนตัวคิดว่าการแบ่งจอภาพเป็น 2 ข้างก็ช่วยสะท้อนให้เห็นความแตกต่าง แต่ควรมี 3D MOTION GRAPHIC อย่างเดียวจะทำให้ผู้ชมมีความเข้าใจมากกว่า ส่วนเทคนิค LONG TAKE ควรมีการถ่ายแบบเดินหน้าบ้าง และสลับกับการเดินข้างหลัง เพื่อให้รายการไม่น่าเบื่อ ในส่วนของเทคนิค STOP MOTION ควรดูเรื่องแสงให้ดีกว่านี้ และเทคนิค JUMP CUT ควรมีการ JUMP ให้เร็วกว่านี้ เช่น ทีละ 20 ถึง 30 ก้าว